การรับฟังความคิดเห็นทั่วไป

จากผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2560

ข้อเสนอแนะจากผู้ให้บริการ ดูภาพรวมประเด็นฯทั้งหมด

ข้อเสนอแนะจากผู้ให้บริการ

Hearing Group: ผู้ให้บริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กทม.

งบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรมีการศึกษางบขาขึ้นเพื่อศึกษาต้นทุนเพราะขณะนี้หน่วยบริการมีภาระหนี้สิน เนื่องจากค่าเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุน


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:53น.

การออกทำpp นอกหน่วยบริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

เสนอให้แก้ไขกฏกระทรวงเพื่อให้หน่วยบริการออกบริการนอกหน่วยได้


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:51น.

pp นอก

การบริหารจัดการกองทุน
 

PP นอก ให้แยกการสำรวจชุมชนHome scan ออกไปต่างหาก เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการเข้าถึงยากเช่นคอนโด หมู่บ้าน และให้ทำข้อมูลเป็นส่วนกลาง โดยอาจจะออกข้อบังคับของกทม เพื่อบังคับให้ประชาชนแสดงข้อมูลที่จำเป็นและยินยอมให้หน่วยบริการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:50น.

เงินเหลือจ่าย

การบริหารจัดการกองทุน
 

1เงินเหลือจ่ายควรนำมาชำระหนี้ค่าส่งต่อของหน่วยบริการที่มีอยู่ในระบบ
2งบค่าเสื่อม ควรจัดซื้อครุภัณฑ์ที่ไม่เคยมมีอยู่ได้ตามกรอบเพื่อพัฒนาบริการในด้านต่างๆ เช่น เครื่องตรวจภาพจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:45น.

ยานอกบัญชี

การบริหารจัดการกองทุน
 

เพิ่มการรับรู้ให้ผู้ป่วยเรื่องยานอกบัญชียาหลักว่าเบิกไม่ได้ แต่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ


คลินิก  สุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:32น.

ปรับโมเดล

การบริหารจัดการกองทุน
 

ผู้ป่วยโมเดล 4 กรณีมี 3 ชื่อ ผู้ป่วยจะไปทั้ง3 ที่ แต่หักค่าใช้จ่ายจากคลินิกโดยคลินิกไม่รู้ เสนอให้ปรับเป็นโมเดล 2 ให้เหลือ 2 ชื่อ


คลินิก  สุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:30น.

กองทุนPP

การบริหารจัดการกองทุน
 

1โครงสร้างของคณะกรรมการpp ควรมีสัดส่วนภาคประชาชนเกินกึ่งหนึ่ง
2 การใช้เงินกองทุนpp ควรอนุัติให้องค์กรภาคประชาชนที่มีผลงานด้านสุขภาพด้วย
3 กองทุนppของกทม. ควรเกิดขึ้นเร็วๆ


คลินิก  อธิศ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:23น.

การร่วมจ่ายค่าบริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

1 ควรให้มีการร่วมจ่ายเพื่อลดอัตราการเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็น แต่ควรมีการกำหนดเกณฑ์การจ่าย
2 ควรมีการร่วมจ่ายในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง
3 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้องรังที่ต้องฟอกไตควรมีสิทธิเลือกทำ HD หรือ CAPD ได้ตามความสมัครใจ โดยให้มีการร่วมจ่ายทุกกองทุน


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:49น.

งบ PP เหลือคืนคลัง

การบริหารจัดการกองทุน
 

ในแต่ละปี มีงบประมาณหมวดสร้างเสริมสุขภาพเหลือจ่ายจำนวนกว่า 100 ล้าน และ สปสช กทม จะคืนไปส่วนกลางก่อน ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วย การใช้เงินเหลือจ่าย
ข้อเสนอ : กำหนดให้สามารถนำเงินเหลือจ่ายทุกหมวด สามารถนำมาจัดสรรเพื่อชำระหนี้ค่าบริการสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของ อปสข


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:30น.

งบเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุนบริการ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ขาดแคลนงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุนบริการ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ขาดแคลนงบประมาณ
ข้อเสนอ : ปรับปรุงวิธีคิดงบเหมาจ่ายรายหัว ให้สะท้อนต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น
นำค่าใช้จ่ายเรื่องการส่งต่อมาคิดรวมไว้ด้วย, ปรับเพิ่มงบ PP คงที่เป็น 80 เปอร์เซนต์ของงบประมาณ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:28น.

งบค่าเสื่อมประจำปีไม่อนุญาตให้ลงทุนในครุภัณฑ์ส่วนขาดตามกรอบ (ที่ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน )

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบลงทุนที่เบิกจ่ายในลักษณะงบค่าเสื่อมประจำปี ไม่อนุญาติให้ ลงทุน ใน ครุภัณฑ์ส่วนขาดตามกรอบ (ที่ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน )เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุม และจำเป็นต้องทำแผนเต็มวงเงิน แม้จะไม่มีความจำเป็นในการซ่อมแซมครุภัณฑ์ หรือจัดหาส่วนขาดที่เคยมีมาก่อน
ข้อเสนอ : เนื่องจากภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีงบลงทุนครุภัณฑ์แยกต่างหาก แต่คลินิกชุมชนอบอุ่นภาคเอกชนไม่ได้รับงบประมาณ จึงควรกำหนดให้ งบลงทุนสามารถใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อเพิ่มเติมตามส่วนขาดตามกรอบ(แม้ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน) และสำหรับการจัดทำแผนไม่ควรบังคับว่าต้องทำแผนจนหมดวงเงิน ควรจัดทำตามความเป็นจริงและเป็นการจัดทำแผนรายปี หน่วยบริการสามารถจัดซื้อไปก่อนที่เงินจะได้รับจัดสรร โดยมีการกำหนดเงื่อนไข ให้ทำแผนและขออนุมัติให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มปีงบประมาณ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:27น.

ตัวชี้วัด Qof และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ไม่เหมาะสม ไม่สะท้อน

การบริหารจัดการกองทุน
 

ตัวชี้วัด Qof และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ไม่เหมาะสม ไม่สะท้อนต้นทุน บางครั้ง ไม่มีประโยชน์ซ้ำซ้อน
ข้อเสนอ : จัดทำ QOF และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ให้สะท้อนต้นทุนคุณภาพ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:24น.

โรงเรียนแพทย์เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอกในเวลาราชการเกินจริง

การบริหารจัดการกองทุน
 

มีการอนุญาตให้ รพ.รับส่งต่อ ภาครัฐสังกัด มหาวิทยาลัย เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ ‘ เกินจริง ‘ (โรงเรียนแพทย์เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอกในเวลาราชการเกินจริง)
จากที่เรียกเก็บ ค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ กับ ผู้ป่วยสิทธิอื่นๆ
ข้อเสนอ : กำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่าย ค่าส่งต่อ ในฐานะ clearing house ให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นหลัก การปฏิบัติตามหลัก RDU
ส่วนค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ ควรใช้ราคากรมบัญชีกลางหรือราคาจริงตามที่สถานพยาบาลรัฐเรียกเก็บจากผู้ป่วยสิทธิอื่นๆ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:23น.

ค่าส่งต่อภายในเขต กรุงเทพมหานคร สูงมาก จนมีปัญหาหนี้สิน ค้างชำระ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ค่าส่งต่อภายในเขต กรุงเทพมหานคร สูงมาก จนมีปัญหาหนี้สิน ค้างชำระกับ โรงพยาบาลรับส่งต่อ กว่า 100 ล้านบาท
ข้อเสนอ : ขอใช้งบฉุกเฉินจากรัฐบาลหรือเพิ่มงบค่าหัวเหมาจ่าย
: กำหนดให้ สามารถนำเงินที่เหลือจ่ายในหมวดหลักอื่น มาใช้สำหรับชำระหนี้ค่าส่งต่อได้


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:22น.

ให้ผู้มารับบริการร่วมจ่าย

การบริหารจัดการกองทุน
 

ผู้มารับบริการหน่วยปฐมภูมิมีจำนวนมากทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง (NCDs) และผู้ป่วยทั่วไปที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ควรให้มีการร่วมจ่าย เพื่อให้หน่วยบริการปฐมภูมิอยู่ได้


คลินิก  นส สุรีพร กาสา บางบอนคลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:13น.

X

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  Piano  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:36น.

การบริหารงบลงทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  นางสาววิลาวัลย์ สุขหนองหว้า  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:12น.

กองทุน QOF

การบริหารจัดการกองทุน
 

การกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นตัวชี้วัดเดิมเพื่อให้สถานบริการได้วางแผนการทำงานให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทุกปี
เรื่องที่ทำในปี 59 ดี และมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการ เมื่อมีการตัดตัวชี้วัดบางตัวออกการทำงานก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานก็ต้องมาปรับแผนการทำงานใหม่ ประโยชน์ผู้รับบริการที่เคยได้รับก็ถูกลดลงตามงบประมาณที่ได้
เมื่อทางสำนักงานต้องการคุณภาพ แต่ ไม่มีความชัดเจนในการจัดการแผนงาน..แล้วจะให้สถานบริการทำงานคุณภาพที่ีสมบูรณ์แบบได้อย่างไร
อยากให้ทบทวนค่ะ ถ้าอยากได้คุณภาพของการบริการ เกณฑ์ตัวชี้วัดในการทำงานต้องชัดเจนและมีระยะเวลาที่วัดผลการทำงานได้


คลินิก  ปอแก้ว นามโคตร   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:25น.

การจัดสรรงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่นโดยเฉพาะ model 4 ที่มีประชากรสามารถไปใช้บริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขและหน่วยบริการปฐมภูมิ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  มิ้ว  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:20น.

จัดประชุมร่วมด่วนการจัดการแก้ไขภาระหนี้คงค้างจากการส่งต่อ

การบริหารจัดการกองทุน
 

1ให้สปสชชี้แจงและให้แต่ละคลินิกตรวจสอบความถูกต้องภาระหนี้คงค้างจากการส่งต่อ2ร่วมหาแนวทางแก้ไขช่วยเหลือโดยเร่งด่วน3แจ้งแนวทางtimelineการจ่ายเงินแต่ละส่วนให้ชัดเจนเช่นค่าเหมาจ่ายรายหัวทุกวันที่25เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานจ่ายเงินและการบัญชีของทุกคลินิก


คลินิก  พญนันทวัน ชอุ่มทอง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 03:52น.

การจัดบริการกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

การจัดบริการกองทุนต่างๆยังไม่ครบผู้รับบริการยังได้รับบริการไม่เหมือนกัน และไม่ครอบคลุมทั้งหมด


คลินิก  สุมนาทรัพย์สุวรรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:31น.

การจัดบริการกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

การจัดบริการกองทุนต่างๆยังไม่ครบผู้รับบริการยังได้รับบริการไม่เหมือนกัน และไม่ครอบคลุมทั้งหมด


คลินิก  สุมนาทรัพย์สุวรรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:16น.

ให้คนไข้ช่วยร่วมจ่ายด้วย

การบริหารจัดการกองทุน
 

คนไข้ร่วมจ่ายด้วย


คลินิก  เจริญกรุง 91 คลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:26น.

ในกรณีโรตที่รักษาต่อเนื่องจากตติยภูมิ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรไปรับการรักษาต่อเนื่องจนจบการรักษาโดยเป็นหน้าที่ของร.พรับส่งต่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนจบการรักษาเพื่อการรักษาต่อที่สมบูรณ์และช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกให้คนไข้ประหยัดเวลาและการเดินทางรวมถึงค่าใช้จ่ายให้คนไข้เพราะในรายส่งต่อไปส่วนมากก็เจ็บป่วยด้วยโรคทางกายทีร้ายแรงอยู่แล้วคะ


คลินิก  น.ส.อิสรีย์ยา พึ่งอารมณ์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:29น.

แก้ไขการใช้เงินงบประมาณข้ามหมวด เพื่อให้ผู็รับบริการได้รับผลประโยชน์สูงสุด

การบริหารจัดการกองทุน
 

กรณีมีงบบางงบเหลือ ควรมีการ"จัดการ"ให้สามารถดึงมาใช้ในงบที่ไม่พอ อาทิ งบค่าส่งต่อซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ๆ หลักๆของคลินิกชุมชนอบอุ่นที่มีหนี้ค้างชำระกับโรงพยาบาลส่งต่อ.เพราะเมื่อต้องรักษาตามมาตรฐาน ทำให้ต้องส่งตัวตามแนวทางการรักษา ค่าส่งตัวสูง


คลินิก  ปอขวัญ นาคะผิว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 13:49น.

งบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบประมาณแต่ละกองทุน น่าจะครอบคลุมทั้งรายการของโรคนั้นๆๆ ที่เข้าใช้บริการ เช่นกองทุนโรคมะเร็ง กองทุนโรคไต ไม่ต้องส่งกลับมาที่คลินิกเพื่อลดขั้นตอนของการรับบริการ และโดยเฉพาะคนไข้เองก็ไม่ต้่องเดินทางไปมาระหว่างคลินิกและโรงพยาบาล


คลินิก  จิตตินันท์ โทร.02-216-1410-11  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 11:27น.

เรื่องยารักษาโรค

การบริหารจัดการกองทุน
 

น่าจะเพิ่มยารักษาโรค พื้นฐานขึ้นตามความเหมาะสม


คลินิก  อภิญญา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 10:08น.

อยากให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อจัดให้ผู้ให้บริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

อยากให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อจัดให้ผู้ให้บริการ


คลินิก  น้ำอบ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:36น.

เรื่องค่าตอบเเทนการรับบริการแพทย์แผนไทย

การบริหารจัดการกองทุน
 

ค่าตอบแทนการให้บริการแพทย์แผนไทยน้อยเกินไปอยากให้เพิ่มค่าตอบแทนมากขึ้นค่ะ


คลินิก  bum  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:27น.

ค่าตอบแทนการให้บริการทางการแพทย์แผนไทยต่อรายการไม่เหมาะสมเท่าที่ควร

การบริหารจัดการกองทุน
 

เพิ่มค่าตอบแทนบริการ


คลินิก  Chu  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:06น.

การจัดสรรงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรมีการจัดสรรงบประมาณในกรอบเวลาที่แน่นอนในแต่ละปี เผื่อให้ทางผู้ประกอบกิจการสามารถวางแผนในการดำเนินการได้เหมาะสม


คลินิก  พัชรธร พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรมสาขาแกรนด์ออคิด 02-9191575  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:10น.

ขอให้พิจารณากองทุนเพิ่ม

การบริหารจัดการกองทุน
 

เนื่องจากมาตรฐานเพิ่มแต่เงินน้อยลง การทำงานมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นหากงบไม่มี ผลงานจะมาจากไหน คลินิกไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ รพ ว่าอย่างไรคลินิกก็ต้องตาม แต่คลินิกถูกตัดเงินแบบไม่มีทางร้องขออะไรได้


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:22น.

รายละเอียดกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

1. อยากให้แต่ละกองทุนมีความชัดเจนในการเคลม เช่น กองทุน HIV แต่ ร.พ. เจาะ AST,ALT แต่กองทุนให้เบิกได้แค่ ALT ทำให้ ร.พ. ต้องเบิก AST ที่คลินิก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดข้อขัดแย้งกัน โดยส่วนตัวเข้าใจหลักการว่าใช้ติดตาม ADR ของยา แต่ ทาง ร.พ. เมื่อแพทย์สั่งดูทั้ง 2 ตัว หรือมากกว่านั้น ก็ต้องหาที่เบิก ซึ่งอาจเป็น over-investigation หรือ ไม่ ก็ได้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ แต่ทั้งนี้ กองทุน ควรต้อง support ส่วนนี้ด้วย เป็นต้น

2. บางกองทุน เช่น กองทุนมะเร็ง ก็ไม่น่าจะครอบคลุมแค่ยา เคมีบำบัดหรือฉายรังสี ควรจะครอบคลุมเรื่อง Lab ด้วย เนื่องจากต้องมีการ monitor ตลอด


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:10น.