การรับฟังความคิดเห็นทั่วไป

จากผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2560

ข้อเสนอแนะจากผู้ให้บริการ ดูภาพรวมประเด็นฯทั้งหมด

ข้อเสนอแนะจากผู้ให้บริการ

Hearing Group: ผู้ให้บริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กทม.

รถพยาบาลรับส่งต่อ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

มีหน่วยงานอื่นให้การสนับสนุนการส่งตัวจากหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังหน่วยบริการรับส่งต่อ


คลินิก  หน่วยบริการ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 13:17น.

งบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรมีการศึกษางบขาขึ้นเพื่อศึกษาต้นทุนเพราะขณะนี้หน่วยบริการมีภาระหนี้สิน เนื่องจากค่าเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุน


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:53น.

การออกทำpp นอกหน่วยบริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

เสนอให้แก้ไขกฏกระทรวงเพื่อให้หน่วยบริการออกบริการนอกหน่วยได้


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:51น.

pp นอก

การบริหารจัดการกองทุน
 

PP นอก ให้แยกการสำรวจชุมชนHome scan ออกไปต่างหาก เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการเข้าถึงยากเช่นคอนโด หมู่บ้าน และให้ทำข้อมูลเป็นส่วนกลาง โดยอาจจะออกข้อบังคับของกทม เพื่อบังคับให้ประชาชนแสดงข้อมูลที่จำเป็นและยินยอมให้หน่วยบริการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:50น.

เงินเหลือจ่าย

การบริหารจัดการกองทุน
 

1เงินเหลือจ่ายควรนำมาชำระหนี้ค่าส่งต่อของหน่วยบริการที่มีอยู่ในระบบ
2งบค่าเสื่อม ควรจัดซื้อครุภัณฑ์ที่ไม่เคยมมีอยู่ได้ตามกรอบเพื่อพัฒนาบริการในด้านต่างๆ เช่น เครื่องตรวจภาพจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน


คลินิก  พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:45น.

การตรวจสุขภาพประจำปี

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ทบทวนและปรับปรุงตารางการตรวจสุขภาพประจำปีตามความจำเป็น ตามช่วงอายุ


คลินิก  หญิง.  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:42น.

ติดต่อยาก

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

อยากให้มีระบบการโอนสายกลับไปที่โอเปอเรเตอร์ กรณีไม่มีคนรับสาย เนื่องจากบางครั้งโทรไปที่โต๊ะ แต่เจ้าหน้าที่ไม่อยู่รับสาย


คลินิก  กกก  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:42น.

การรับรู้สิทธิบัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้สปสช เพิ่มเติมเรื่องการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานระบบบัตรทอง ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ รพ แม่ข่าย เพราะเกิดการสื่อสารผิดพลาดเกี่ยวกับระบบส่งตัว เพราะผู้รับบริการจะเชื่อน้ำหนักคำพูกของแพทย์มากที่สุด เกิดปัญหาเรื่องร้องเรียนมาที่คลินิกทั้งๆ ที่คลินิก แจ้งเรื่อง ระบบส่งตัวกับผู้รับบริการแล้ว (ประชุมเชิงรุกที่หน่วยงานโดยเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่)


คลินิก  คุณเนาวรัตน์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:36น.

ปริมาณงานเยอะ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

หน่วยบริการมีประชากรที่รับผิดชอบในพื้นที่มาก ทำให้มีปริมาณงานมาก ดูแลผู้ป่วยไม่ครอบคลุม


คลินิก  กกก  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:33น.

ยานอกบัญชี

การบริหารจัดการกองทุน
 

เพิ่มการรับรู้ให้ผู้ป่วยเรื่องยานอกบัญชียาหลักว่าเบิกไม่ได้ แต่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ


คลินิก  สุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:32น.

การร่วมจ่าย

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ไม่ควรมีการร่วมจ่าย และให้นำหลัก RDU และให้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น


คลินิก  นพ. พงษ์ศักดิ์  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:31น.

ผู้ให้บริการร้องเรียนผู้รับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เปิดช่องทางให้ผู้ให้บริการร้องเรียนผู้รับบริการได้ เช่น กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มจิตเวช ทำให้ผู้ให้บริการรู้สึกไม่ปลอดภัยในการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้ และญาติ


คลินิก  สุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:31น.

ปรับโมเดล

การบริหารจัดการกองทุน
 

ผู้ป่วยโมเดล 4 กรณีมี 3 ชื่อ ผู้ป่วยจะไปทั้ง3 ที่ แต่หักค่าใช้จ่ายจากคลินิกโดยคลินิกไม่รู้ เสนอให้ปรับเป็นโมเดล 2 ให้เหลือ 2 ชื่อ


คลินิก  สุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:30น.

การรั

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1. การสื่อสาร และความเป็นกลางในการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ สปสช./1330 ระหว่างหน่วยบริการกับประชาชน
2. ประชาชนควรรับรู้หน้าที่ต่างๆ ในการขอใบส่งตัว หรือหน้าที่ที่ต้องขอข้อมูล/ผลการรักษาจาก รพ. รับส่งต่อ (เพื่อให้หน่วยปฐมภูมิรับทราบข้อมูลการรักษา)
3. ควรมีการประชาสัมพันธ์ในการรับรู้การใช้สิทธิ และหน้าที่ของประชาชนในการขอใบส่งตัว


คลินิก  เพศหญิง  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:29น.

กองทุนPP

การบริหารจัดการกองทุน
 

1โครงสร้างของคณะกรรมการpp ควรมีสัดส่วนภาคประชาชนเกินกึ่งหนึ่ง
2 การใช้เงินกองทุนpp ควรอนุัติให้องค์กรภาคประชาชนที่มีผลงานด้านสุขภาพด้วย
3 กองทุนppของกทม. ควรเกิดขึ้นเร็วๆ


คลินิก  อธิศ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:23น.

ผู้ป่วยมาขอหนังสือส่งตัวโดยไม่มีประวัติการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1. เน้นผู้ป่วยมาไม่ตรงนัด มาร้องเรียนที่คลินิค
2. อยากส่งตัวแต่ไม่นำประวัติการรักษามาเลย ทำให้หน่วยบริการมีปัญหาในเรื่องการเขียนหนังสือส่งตัว
3. อยากให้สปสช กทม เพิ่มวิธีการแนะนำสิทธิ ประวัติการรักษา ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง


คลินิก  คุณสุเมธ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:19น.

ระบบรับเรื่องร้องเรียน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1. เมื่อมีประเด็นเรื่องร้องเรียนเสนอให้สปสช.เชิญคู่กรณีมาพูดคุยทำความเข้าใจกับคลินิกก่อน
โดยมีสปสช.เป็นคนกลาง
2. การประสานงานทางโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่สปสช.ควรสอบถามข้อเท็จจริงจากคลินิก ก่อนพิจารณาตัดสินว่าข้อร้องเรียนนั้นมีมูล หรือเข้าใจผิด


คลินิก  ผู้ให้บริการ  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 11:16น.

การออกหน่วยหาบัตรทอง

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เปิดคลินิกใหม่ ทำไมลงหาบัตรทองไม่ได้ แล้วจะให้ประชาชนรู้ได้ไง


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:49น.

ออกหน่วยคัดกรอง

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ควรออกหน่วยคคัดกรองนอกพื้นที่หรือนอกคลินิกได้


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:40น.

การแบ่งโซนพื้นที่รับผิดชอบ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

จัดแบ่งโซนที่ชัดเจนเท่าเทียม ใกล้คลินิก


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:39น.

การตรวจประเมิน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ควรมาตรวจแบบแนะนำให้ไปใช้ เพื่อจะให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ไม่ใช่หาข้อจับผิดหรือแบบไม่เป็นมิตร


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:35น.

case มะเร็ง

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ควรจะแยกให้ผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในการดูแลของหน่วยงาน หรือของทางโรงพยาบาลไม่ใช่ให้คลินิกปฐมภูมิดูแล


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:33น.

ระบบโปรแกรม

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

โปรมแกรมในการคีย์งานหลายขั้นตอน หลายอย่าง


คลินิก  ชบา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 20:29น.

การแสดงความคิดเห็นให้กับผู้ให้บริการในระบบประกันสุขภาพ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

-สปสช.ไม่ควรรับเรื่องร้องเรื่องผ่านระบบออนไลน์เพราะยุ่งยากและคนไข้เข้าถึงได้ยาก
-การตรวจประเมินประจำปีควรให้คำแนะนำมากกว่าคำติชม
-สามารถออกหน่วยคัดกรองนอกสถานที่ได้
-การลงทะเบียนบัตรทองควรลงได้เฉพาะพื้นที่ใกล้ๆหน่วยรับบริการเท่านั้น
-การคีย์ข้อมูลควรทำให้เป็นระบบมากว่านี้
-การส่งเอกสารถึง สปสช.หายบ่อยควรมีลงทะเบียนรับและส่งเอกสารทุกครั้งที่ส่งเอกสารถึง สปสช.
-การทำอนามัยโรงเรียนควรแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนและใกล้คลินิก ควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ผ่านการอบรมสามารถทำอนามัยโรงเรียนได้
-ระบบไอทีดึงข้อมูลบ่อยส่งผลกระทบต่อระบบไอทีทางคลินิก
-งบเสื่อมไม่ควรให้ค้นข้อมูลย้อนหลังหลายปี ทางสปสช.ควรเก็บข้อมูลสำรองไว้เพราะทำให้ทางคลินิกทำงานซ้ำซ้อนมากเกินไป
-คนไข้โรคมะเร็ง ไม่ควรอยู่ในการดูแลของคลินิกปฐมภูมิควรแยกไปอยู่ในความดูแลของหน่อยงานหรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง


คลินิก  คลินิกเวชกรรมแพทย์ศรีนครินทร์ สาขาสี่แยกศรีนุช  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:58น.

การตรวจประเมิน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

การตรวจประเมินควรเป็นการมาตรวจเพื่อแนะนำแนวทางการทำงานให้เกิดคุณภาพ มากกว่าการจับผิด


คลินิก  สุพัตรา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:15น.

การจัดสรรเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ควรมีการจัดพื้นที่ทำโครงการให้แก่คลินิกโดยชัดเจน เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานทีมหมอครอบครัว


คลินิก  สุพัตรา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:15น.

ไม่สามารถคัดกรองนอกหน่วยบริการได

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

หน่วยงานไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้ ได้แก่ เจาะเลือดคัดกรองความเสี่ยงโรคเมตาบอลิก ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกสถานพยาบาลได้


คลินิก  สุพัตรา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:14น.

เรื่องร้องเรียน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ู้รับเรื่องร้องเรียน ควรรับฟังข้อมูลที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ก่อนให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการ เพราะกรณี ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจผิด หรือ ไม่พึงพอใจในขั้นตอนการให้บริการ


คลินิก  สุพัตรา  เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:13น.

ผู้รับบริการในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้รับบริการที่เป็นโรคมะเร็ง

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ู้รับบริการที่เป็นโรคมะเร็ง ควรจัดให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงาน หรือ รพ.เฉพาะทาง โดยไม่ต้องผ่านคลินิ


คลินิก  สุพัตรา ไผ่เลี้ยง   เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:12น.

กระจายผู้รับบริการ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ควรมีการกระจายผู้รับบริการให้แก่คลินิกเปิดใหม่


คลินิก  สุพัตรา   เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2560 11:11น.

การติดต่อประสานงาน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

การติดต่อเจ้าหน้าที่แต่ละส่วนงาน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับสายติดต่อหลายครั้งและหลายๆวันถึงได้คำตอบ. อยากให้ปรับปรุงในส่วนนี้เพราะบางเรื่องเร่งด่วนและอยากได้คำแนะนำ


คลินิก  ธาริกา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 20:58น.

การให้บริการของเจ้าหน้าที่

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เวลาโทรสอบถามประสานงาน เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสะดวกในการตอบคำถาม แจ้งว่าอ่านจากคู่มือ คลินิกไม่ทราบจริงๆถึงโทรประสานงานเข้าไป ไม่ได้ต้องการรบกวนเวลาเจ้าหน้าที่


คลินิก  น.ส.ศศิวิมล สุขมี  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 18:33น.

การส่งต่อผู้ป่วยโดยการแฟกซ์ประวัติ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เป็นข้อที่ดี ที่ทางรพ.อนันต์พัฒนา2 รับconsult โดยวิธีการส่งแฟกซ์ประวัติผู้ป่วย กรณีเคสเร่งด่วน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่เสียเวชาในการเดินทางและการคอคอย


คลินิก  พตท.หญิง จรุง ตันวิทยา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 18:17น.

ให้ประชาชนรู้สิทธิ และรู้หน้าที่ของตนเองในการใช้สิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1.อยากให้ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรู้สิทธิ และรู้หน้าที่ของตนเองในการใช้สิทธิ
1. การเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ตนเองมีสิทธิ ไม่ใช่บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการที่ไหนก็ได้ อาจมีสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึง คำว่า ฉุกเฉิน ว่ากรณีใดบ้างที่ฉุกเฉิน เพราะแต่ละคนมีความเข้าใจไม่เหมือนกัน
2.อยากให้ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนตระหนักถึงการแสดงตนก่อนการใช้สิทธิ ว่าเอกสารที่ต้องยื่นเป็นอะไรได้บ้าง เช่นบัตรประชาชน ใบเกิด ทะเบียนบ้าน ใบขับขี่ ไม่ใช่ว่า ใช้รูปถ่ายในมือถือแล้วมายื่นแสดง พอเจ้าหน้าที่แนะนำแล้วไม่พอใจ บ่นว่ายุ่งยาก
3.อยากให้ประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้สิทธิ พรบ.


คลินิก  อลิษา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 18:00น.

การร่วมจ่ายค่าบริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

1 ควรให้มีการร่วมจ่ายเพื่อลดอัตราการเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็น แต่ควรมีการกำหนดเกณฑ์การจ่าย
2 ควรมีการร่วมจ่ายในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง
3 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้องรังที่ต้องฟอกไตควรมีสิทธิเลือกทำ HD หรือ CAPD ได้ตามความสมัครใจ โดยให้มีการร่วมจ่ายทุกกองทุน


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:49น.

อัตราการจ่ายชดเชยยังไม่สะท้อนต้นทุน

กองทุนท้องถิ่น/กองทุนพื้นที่/ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ
 

พิจารณาทบทวนระบบการจ่ายเนื่องจากการจ่ายชดเชยยังไม่สะท้อนต้นทุน


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:45น.

หน่วยบริการที่เข้าร่วมมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการรับบริการของประชาชน

กองทุนท้องถิ่น/กองทุนพื้นที่/ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ
 

หน่วยบริการที่เข้าร่วมมีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการรับบริการของประชาชน


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:44น.

ไม่มีการประชาสัมพันธ์หน้าที่ของประชาชนเรื่องสิทธิบัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1 สปสช.ทำความเข้าใจกับประชาชนที่ชอบเปลี่ยนการรับบริการหลายแห่ง เพื่อเป็นการรักษาโรคต่อเนื่องควรเข้ารับบริการประจำที่หน่วยใดหน่วยหนึ่ง เช่น HIV ANC เป็นต้น
2 สปสช. ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องเวลาทำการของหน่วยบริการ


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:42น.

เพิ่มคลินิกในพื้นที่ราชเทวี หรือเพิ่ม member.ให้คลินิกเดิมที่ปิดไปแล้ว

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

เพิ่มคลินิกในพื้นที่ราชเทวี หรือเพิ่ม member.ให้คลินิกเดิมที่ปิดไปแล้ว


คลินิก  หน่วยบริการ (ผ่าน voice สำนักงาน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:39น.

งบ PP เหลือคืนคลัง

การบริหารจัดการกองทุน
 

ในแต่ละปี มีงบประมาณหมวดสร้างเสริมสุขภาพเหลือจ่ายจำนวนกว่า 100 ล้าน และ สปสช กทม จะคืนไปส่วนกลางก่อน ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วย การใช้เงินเหลือจ่าย
ข้อเสนอ : กำหนดให้สามารถนำเงินเหลือจ่ายทุกหมวด สามารถนำมาจัดสรรเพื่อชำระหนี้ค่าบริการสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของ อปสข


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:30น.

สปสช.รับฟังเรื่องร้องเรียน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

สปสช .ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ป่วย รับฟังจากเจ้าหน้าที่บ้าง ไม่ใช่รับฟังแต่เรื่องของผู้ป่วย และให้หน่วยบริการยอมจนเกินความจำเป็น และยังให้ข้อมูลที่ไม่ถูกแก่ผู้ป่วยทำให้เกิดความเข้าใจผิด ส่งผลเสีย


คลินิก  ตวงเพชร ทองแทน (เรือพระร่วงสหคลินิก)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:28น.

งบเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุนบริการ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ขาดแคลนงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบเหมาจ่ายรายหัวไม่สะท้อนต้นทุนบริการ ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง ขาดแคลนงบประมาณ
ข้อเสนอ : ปรับปรุงวิธีคิดงบเหมาจ่ายรายหัว ให้สะท้อนต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น
นำค่าใช้จ่ายเรื่องการส่งต่อมาคิดรวมไว้ด้วย, ปรับเพิ่มงบ PP คงที่เป็น 80 เปอร์เซนต์ของงบประมาณ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:28น.

งบค่าเสื่อมประจำปีไม่อนุญาตให้ลงทุนในครุภัณฑ์ส่วนขาดตามกรอบ (ที่ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน )

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบลงทุนที่เบิกจ่ายในลักษณะงบค่าเสื่อมประจำปี ไม่อนุญาติให้ ลงทุน ใน ครุภัณฑ์ส่วนขาดตามกรอบ (ที่ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน )เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุม และจำเป็นต้องทำแผนเต็มวงเงิน แม้จะไม่มีความจำเป็นในการซ่อมแซมครุภัณฑ์ หรือจัดหาส่วนขาดที่เคยมีมาก่อน
ข้อเสนอ : เนื่องจากภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีงบลงทุนครุภัณฑ์แยกต่างหาก แต่คลินิกชุมชนอบอุ่นภาคเอกชนไม่ได้รับงบประมาณ จึงควรกำหนดให้ งบลงทุนสามารถใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อเพิ่มเติมตามส่วนขาดตามกรอบ(แม้ไม่เคยจัดซื้อมาก่อน) และสำหรับการจัดทำแผนไม่ควรบังคับว่าต้องทำแผนจนหมดวงเงิน ควรจัดทำตามความเป็นจริงและเป็นการจัดทำแผนรายปี หน่วยบริการสามารถจัดซื้อไปก่อนที่เงินจะได้รับจัดสรร โดยมีการกำหนดเงื่อนไข ให้ทำแผนและขออนุมัติให้เสร็จสิ้นก่อนเริ่มปีงบประมาณ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:27น.

คลินิกชุมชนอบอุ่นไม่มีตัวแทนใน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่นไม่มีตัวแทนใน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ สภาพปัญหา ไม่ขึ้นถึง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ข้อเสนอ : จัดตั้งคณะทำงาน ที่มีคลินิกชุมชนอบอุ่นในเขตกรุงเทพมหานครรวมกำหนด นโยบายทุกๆ หมวดของกองทุน


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:25น.

ตัวชี้วัด Qof และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ไม่เหมาะสม ไม่สะท้อน

การบริหารจัดการกองทุน
 

ตัวชี้วัด Qof และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ไม่เหมาะสม ไม่สะท้อนต้นทุน บางครั้ง ไม่มีประโยชน์ซ้ำซ้อน
ข้อเสนอ : จัดทำ QOF และตัวชี้วัด โรคเมตาบอลิก ให้สะท้อนต้นทุนคุณภาพ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:24น.

โรงเรียนแพทย์เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอกในเวลาราชการเกินจริง

การบริหารจัดการกองทุน
 

มีการอนุญาตให้ รพ.รับส่งต่อ ภาครัฐสังกัด มหาวิทยาลัย เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ ‘ เกินจริง ‘ (โรงเรียนแพทย์เรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยนอกในเวลาราชการเกินจริง)
จากที่เรียกเก็บ ค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ กับ ผู้ป่วยสิทธิอื่นๆ
ข้อเสนอ : กำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่าย ค่าส่งต่อ ในฐานะ clearing house ให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นหลัก การปฏิบัติตามหลัก RDU
ส่วนค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ ควรใช้ราคากรมบัญชีกลางหรือราคาจริงตามที่สถานพยาบาลรัฐเรียกเก็บจากผู้ป่วยสิทธิอื่นๆ


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:23น.

ค่าส่งต่อภายในเขต กรุงเทพมหานคร สูงมาก จนมีปัญหาหนี้สิน ค้างชำระ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ค่าส่งต่อภายในเขต กรุงเทพมหานคร สูงมาก จนมีปัญหาหนี้สิน ค้างชำระกับ โรงพยาบาลรับส่งต่อ กว่า 100 ล้านบาท
ข้อเสนอ : ขอใช้งบฉุกเฉินจากรัฐบาลหรือเพิ่มงบค่าหัวเหมาจ่าย
: กำหนดให้ สามารถนำเงินที่เหลือจ่ายในหมวดหลักอื่น มาใช้สำหรับชำระหนี้ค่าส่งต่อได้


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:22น.

ไม่สามารถออกไปทำ กิจกรรมPP หรือทำกิจกรรมของทีมหมอครอบครัวได้

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ไม่สามารถออกไปทำ กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ หรือทำกิจกรรมของทีมหมอครอบครัว ได้ เช่นเจาะเลือดคัดกรองความเสี่ยง โรคเมตาโบลิก หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกสถานพยาบาลได้ เพราะขัดต่อ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) เรื่อง หลักเกณฑ์การยกเว้นสถานพยาบาลซึ่งไม่ต้องอยู่ในบังคับของ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และไม่สามารถ นำกิจกรรมมาขอรับการชดเชยจาก สปสช กทม ได้
ข้อเสนอ : แก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข,อนุญาติให้เบิกจ่ายจาก งบ PP itemized ได้


คลินิก  นพ.ศักดา เมืองคำ (ผ่านช่องทางไลน์)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:21น.

1.การเบิกจ่ายงบเสื่อมงบลงทุน

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

1.ให้มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ได้
2.ระยะเวลาในการทำแผนงบและการส่งเพื่อตรวจสอบควรแจ้งล่วงหน้ามากกว่านี้


คลินิก  พญ นิชารัศมิ์ ศิริเชาวรัศม์  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 17:02น.

สิทธิที่ควรจะได้รับรู้ ในการรับบริการกับสิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

-ควรแจ้งสิทธิสวัสดิการด้านสุขภาพให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วถึงและใช้รูปแบบช่องทางอื่นๆในการประชาสัมพันธ์ เช่น การจัดวิทยากรให้ความรู้ สื่อออนไลน์และใช้สื่อต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ถึงสิทธิด้านการรักษาและด้านอื่นๆได้ถูกต้อง
-ควรมีคู่มือหรือแนวทางการรับบริการให้แก่ผู้ป่วยด้วยว่าสิ่งที่ท่านต้องการนั้นมันคือการรับบริการตามสิทธิหรือนอกเหนือสิทธิที่ควรจะได้รับ เพราะบางคนที่มารับบริการเรียกร้องแต่สิทธิของตนที่มากเกินโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ตนเองเหมาะสมควรจะได้รับ


คลินิก  วรรณกมล  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 16:25น.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการเข้าถึงสิทธิของตนเอง อย่างเช่น ผู้ป่วยจะเข้าใจผิดเสมอว่ามีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้วสามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลที่ใดก็ได้ทั่วประเทศไทย ซึ่งนำมาด้วยความคิดถ้าเป็นแบบนี้ขอใช้สิทธิการรักษาฉุกเฉินได้ไหม ซึ่งความหมายของคำว่า "ฉุกเฉิน" ของผู้ป่วย และแพทย์ มีความแตกต่างกันและขาดการอธิบายที่ชัดเจนจึงทำให้เกิดการเข้าใจกันผิด และเกิดการ้องเรียนเกิดขึ้น


คลินิก  Tunyong  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 15:09น.

สิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้ป่วยที่มารับการรักษา ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สิทธิการรักษา แนะนำให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น


คลินิก  ยุพาภรณ์ เชษฐ์สิงห์  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:42น.

สปสช.อย่าเชื่อและฟังคำจากผู้รับบริการร้องเรียนอย่างเดียว

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เวลาผู้รับบริการร้องเรียน ไม่ว่าด้วยเรื่องใดก็ตาม ล้วนมาจากการปรุงแต่งเรื่องราวไม่มากก็น้อย หรือเป็นตามความจริงก็ตาม ควรรับฟัง หรือขอนุญาตบันทึกเสียงไว้แบบ call center ของธนาคาร สปสช.ควรโทรศัพท์มาถามข้อเท็จจริงจากทางคลินิกชุมชนอบอุ่นด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าใจ ไม่เสียผลประโยชน์ที่ควรได้รับ และร่วมกันไปแนวทางเดียวกัน คุ้มครองผู้รับบริการและคุ้มครองบุคลากรวิชาชีพด้วย


คลินิก  ผาณิต เพียรทำ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:35น.

ให้ผู้มารับบริการร่วมจ่าย

การบริหารจัดการกองทุน
 

ผู้มารับบริการหน่วยปฐมภูมิมีจำนวนมากทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง (NCDs) และผู้ป่วยทั่วไปที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ควรให้มีการร่วมจ่าย เพื่อให้หน่วยบริการปฐมภูมิอยู่ได้


คลินิก  นส สุรีพร กาสา บางบอนคลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:13น.

การลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาล

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

มีผู้มารับบริการต้องการไป โรงพยาบาล อยากให้ โรงพยาบาลแม่ข่ายสื่อสารกับผู้รับบริการว่า คลินิกใดมีแพทย์เฉพาะทางก็ควรได้รับการรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อน หรือหากอาการทุเลาแล้วก็ควรส่งกลับหน่วยปฐมภูมินัดติดตามดูอาการต่อไป ที่ผ่านมามีจำผู้ป่วยไป โรงพยาบาลมาก และหน่วยบริการปฐมภูมิต้อง จ่าย OP Refer มาก


คลินิก  นส สุรีพร กาสา บางบอนคลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:11น.

ผู้ให้คำปรึกษา ผ่าน call center ควรมีมาตรฐานเดียวกัน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

กรณีมีข้อสงสัยในข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น พ.ร.บ.ต่างๆ หรือกรณีถูกทำร้ายร่างกาย จะมีแนวทางการใช้สิทธิ อย่างไรได้รับข้อมูลไม่ตรงกัน หรือ คลาดเคลื่อน ทำให้เกิดข้อขัดแย้งในสถานบริการ


คลินิก  นส สุรีพร กาสา บางบอนคลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:07น.

ให้ สปสช. เร่งประชาสัมพันธ์สิทธิและหน้าที่ผู้รับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

แย้งกับหน่วยบมีผู้มารับบริการจำนวนมากไม่เข้าใจสิทธิ์ตัวเองแล้วเกิดข้องขัดแย้งกับหน่วยบริการ และมีการแจ้งร้องเรียนกับ สปสช. ว่าไม่ได้รับการบริการที่ดีนานัปการ และควรให้มีการรับฟังความกันทั้ง 2 ฝ่ายริการ และมีการแจ้งร้องเรียนกับ สปสช. ว่าไม่ได้รับการบริการที่ดีนานัปการ และควรให้มีการรับฟังความกันทั้ง 2 ฝ่าย


คลินิก  นส สุรีพร กาสา บางบอนคลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:06น.

งบประมาณรายหัว

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  นางสาวรุ่งทิวา เท้าเฮ้า  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 14:00น.

ยานอกบัญชี

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบถึงรายการยานอกบัญชีที่ต้องจ่ายเงินเอง เพื่อให้ผู้ป่วยทราบว่ายาบางตัวที่อยู่นอกรายการยาหลักแห่งชาติคนไข้ก็ต้องจ่ายค่ายาด้วย เพราะส่วนใหญ่คนไข้จะมาโวยวายว่าทุกอย่างต้องฟรี


คลินิก  น.ส. ชลธร จันทะดวง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:54น.

ขั้นตอนการใช้สิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้มารับบริการบางรายยังไม่เข้าใจถึงระบบส่งต่อ เช่น ผู้มารับบริการไปรักษาที่อื่นที่ไม่ใช่สิทธิส่งต่อของตนเอง แล้วจะให้ทางต้นสังกัดส่งตัวไปรักษา แต่พอทางเจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและขั้นตอนการส่งต่อให้ทราบ ก็เกิดความไม่พอใจ และมีการแสดงอารมณ์ ชักสีหน้าเนื่องจากไม่ได้ตามตนเองต้องการ เกิดการร้องเรียน
อยากให้ทางหน่วยงานรัฐชี้แจงถึงระบบการส่งต่อของผู้มารับบริการให้ได้ทราบอย่างชัดเจน


คลินิก  นางสาวฮามีดะ สะเตาะ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:47น.

การใช้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ให้ผลิตสื่อหรือการกระจายข่าวการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลที่กว้างขึ้นให้กับผู้รับบริการ เพื่อลดอัตราการใช้ยาอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยบริการรวมถึงลดภาระงานให้กับบุคลลากรนั้นๆ


คลินิก  ฆอนีตะห์ (เรือพระร่วงคลินิกเวชกรรม สาขา 2 )  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:30น.

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการส่งต่อ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง อยากให้พิจารณาแก้ปัญหาช่วยคลินิกด้วยค่ะ หรือจะมีกองทุนอะไรช่วยรองรับได้บ้าง


คลินิก  นางสาวรุ่งทิวา เท้าเฮ้า  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:29น.

สิทธิบัตรทอง

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ระเบียบ ข้อจำกัดของสิทธิบัตรทองน้อย โดยเฉพาะกรณี ไม่ใช่สิทธิบัตรทองของหน่วยงานนั้น ไม่สามารถมาใช้สิทธิ. uc ได้,ระเบียบการส่งตัว ,กรณีฉุกเฉินคืออะไร ,สิทธิการรักษากรณีประสบอุบัติเหตุต้องทำอย่างไร,ยานอกบัญชี คืออะไร มีรายการยาตัวไหนบ้าง และอื่นๆ สปสช.ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้มากขึ้น ควรมีคู่มือ แนวทางการใช้สิทธิสำหรับประชาชน เป็นลักษณะสื่อที่อ่านเข้าใจง่าย สั้นๆ มีภาพประกอบ


คลินิก  ซารีฮัน (เรือพระร่วงสหคลินิก)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:24น.

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้น

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง อยากให้พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยค่ะ


คลินิก  นางสาวปริศนา ทานัน  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:18น.

งบประมาณรายหัว

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  นางสาวพิมศิริ คงมั่น  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:14น.

งบประมาณรายหัว

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  นางสาวพัชราภรณ์ หงษ์ขุนทด  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:13น.

งบประมาณรายหัวไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงโดยเฉพาะค่าส่งต่อที่ทุกวันเพิ่มมากขึ้นและมีรายจ่ายสูง

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

พิจารณาเพิ่มรายหัวหรือจัดสรรให้เพียงพอสะท้อนต้นทุน


คลินิก  รุ่งชีวา ศรีอุทธา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 13:08น.

X

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  Piano  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:36น.

การรับรู้สิทธิส่งต่อ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้มารับบริการบางรายยังไม่เข้าใจถึงระบบส่งต่อ เช่น ผู้มารับบริการไปรักษาที่อื่นที่ไม่ใช่สิทธิส่งต่อของตนเอง แล้วจะให้ทางต้นสังกัดส่งตัวไปรักษา แต่พอทางเจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและขั้นตอนการส่งต่อให้ทราบ ก็เกิดความไม่พอใจ และมีการแสดงอารมณ์ ชักสีหน้าเนื่องจากไม่ได้ตามตนเองต้องการ เกิดการร้องเรียน
อยากให้ทางหน่วยงานรัฐชี้แจงถึงระบบการส่งต่อของผู้มารับบริการให้ได้ทราบอย่างชัดเจน


คลินิก  สาว (เรือพระร่วงสหคลินิก)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:36น.

การบริหารงบลงทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่น กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  นางสาววิลาวัลย์ สุขหนองหว้า  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:12น.

สิทธิการรักษา

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ผู้รับบริการยังขาดความรู้ความเข้าใจขอบเขตสิทธิการรักษาของตนเอง กรณีเกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ก่อให้เกิดการร้องเรียนบ่อยครั้ง และทำให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ในการบริการของคลินิก ให้เพิ่มประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องสิทธิ กรณีต่างๆให้ประชาชนรับทราบ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะ และรายการยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อลดกรณีร้องเรียนคลินิก และคลินิกจะได้ให้บริการได้ง่ายขึ้น ถ้าต่างคนต่างเข้าใจในระบบบริการ


คลินิก  ยำมรี (เรือพระร่วงสหคลินิก)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:12น.

สิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้มารับบริการขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สิทธิ์ในการรักษา อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น


คลินิก  ธีราพร แปงใส  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 12:06น.

สิทธิหลักประกันสุขภาพกับยานอกบัญชี

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการทำคู่มือ เช่น สื่อโฆษณา สื่อทางออนไลน์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเกี่ยวกับยานอกบัญชีที่สิทธิหลักประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับรู้ เข้าใจ และลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาทุกประเภทที่ผู้รับบริการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพต้องได้รับโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อยากให้มีช่องทางหรือสื่อกลางเพื่อเป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการ และเพื่อเป็นการลดการร้องเรียนของการให้บริการ


คลินิก  อัจฉราภรณ์ จาควายทอง เรือพระร่วงสหคลินิก  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:51น.

การรับรู้สิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้รับบริการไม่รู้ขอบเขตกาารักษาของสิทธิบัตรทอง
1.เรียกร้องการรักษาเกินความจำเป็น
2.เมื่อไม่ตามความต้องการ จึงเกิดการร้องเรียน (สปสช.ควรชี้แจ้งในหลักความเป็นจริง ให้คนไข้เข้าใจในเรื่องของการใช้สิทธิ ไม่ยอมผู้รับบริการเมื่อผู้รับบริการใช้อามารณ์ในการร้องเรียน เพราะที่เจอส่วนใหญ่ผู้รับบริการใช้อารมณ์ สปสช.จะให้คลินิกยอมทุกที)
3.สปสช. ความประชาสัมพันธ์ในทุกรู้แบบ


คลินิก  จิราภรณ์   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:48น.

การรับรู้จะทำให้เข้าถึงสิทธิการรับษาที่ถูกต้อง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรแจ้สิทธิการรักษาสุขภาพให้ประชาชนรับรู้ทั่วถึงด้านสุขภาพให้ชัดเจนโดยมีการรูปแบบที่หลากหลายเช่นประชาสันพันธ์สื่อต่างๆจัดวิทยากรเป็นต้น ถ้าประชาชนรู้น้อยจะทำให้เสียต่อการถูกร้อนเรียกเพราะบางครั้งผู้มารับบริการคิดในใจบัตรทองรับษาฟรีจะต้องได้ยาที่ไม่ดี....


คลินิก  พิทักษ์  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:47น.

การรับรู้เรื่องสิทธิ์การรักษาของประชาฃน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิ์การรักษา ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์30บาท หรือสิทธิ์อื่นๆ
อยากให้ สปสช. มีการแนะนำและกระจายข่าวให้ทั่วถึงมากขึ้น


คลินิก  น.ส.ธัญญาพร แก้วมา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:43น.

สิทธิการใช้บัตรทองนอกเวลา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เรื่องสิทธิการใช้บัตรทองนอกเวลา เนื่องจากยังมีผู้ป่วยบางรายที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของอาการเจ็บป่วยแบบฉุกเฉิน และไม่ฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ ณ ตอนนั้นควรได้รับการช่วยเหลือแบบฉุกเฉิน แต่กลับได้รับคำตอบว่ายังไม่ฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาครั้งนั้น และเกิดความสับสนในการใช้สิทธิคะ


คลินิก  แสงดาว แซ่โซ้ง   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:41น.

ระบบ IT

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

อยากให้ระบบการส่งข้อมูล และ IT ของสปสช. เสถียร รวดเร็ว ให้มีการติดขัดน้อยสุด เพื่อจะได้ไมท่ล่าช้าต่อการทำงาน


คลินิก  ทิพย์ผกา  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:36น.

สิทธิประโยชน์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้รับบริการส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการใช้สิทธิการรักษาพรบ. และสิทธ์บัตรทองในกรณีประสบอุบัติเหตุจากยานพาหนะ ซึ่งต้องใช้สิทธ์พรบ. เป็นสิทธ์การรักษาแรก ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลสิทธิประโยนช์ในด้านการรักษาอย่างทั่วถึง


คลินิก  ปาริชาติต้มกลั่น( เรือพระร่วงสหคลินิก)   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:29น.

กองทุน QOF

การบริหารจัดการกองทุน
 

การกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นตัวชี้วัดเดิมเพื่อให้สถานบริการได้วางแผนการทำงานให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันทุกปี
เรื่องที่ทำในปี 59 ดี และมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการ เมื่อมีการตัดตัวชี้วัดบางตัวออกการทำงานก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
เจ้าหน้าที่ที่ทำงานก็ต้องมาปรับแผนการทำงานใหม่ ประโยชน์ผู้รับบริการที่เคยได้รับก็ถูกลดลงตามงบประมาณที่ได้
เมื่อทางสำนักงานต้องการคุณภาพ แต่ ไม่มีความชัดเจนในการจัดการแผนงาน..แล้วจะให้สถานบริการทำงานคุณภาพที่ีสมบูรณ์แบบได้อย่างไร
อยากให้ทบทวนค่ะ ถ้าอยากได้คุณภาพของการบริการ เกณฑ์ตัวชี้วัดในการทำงานต้องชัดเจนและมีระยะเวลาที่วัดผลการทำงานได้


คลินิก  ปอแก้ว นามโคตร   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:25น.

ยานอกบัญชี

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ยานอกบัญชีที่ถูกขึ้นบัญชีหลายตัว เป็นการปิดกั้นการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งผู้ด้อยโอกาศผู้ยากไร้จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนั้นๆ ทำให้คำว่ารัฐสวัสดิการยังเสมือนเป็นการผลักภาระให้ประชาชน ซึ่งหน่วยบริการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการมาตลอด


คลินิก  รตตไตรรัตน์ เสี้ยวทอง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:22น.

การจัดสรรงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

คลินิกชุมชนอบอุ่นโดยเฉพาะ model 4 ที่มีประชากรสามารถไปใช้บริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขและหน่วยบริการปฐมภูมิ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าส่งต่อซึ่งสูงมากขึ้นทุกวันซึ่งเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับมาไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง


คลินิก  มิ้ว  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 11:20น.

การจัดสรรเขตรับผิดชอบที่ชัดเจน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

อยากให้มีการจัดสรรพื้นที่ให้ชัดเจนระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น และคลินิกต่างๆ ในด้านของการจัดกิจกรรมเชิงลึกต่างๆในชุมชนเพื่อลดปัญหาการให้บริการซ้ำซ้อน และยังส่งผลให้ประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือเนื่องจากมีการให้บริการบ่อยครั้งในชุมชน ถึงแม้จะมาจากคนละหน่วยงานก็ตาม


คลินิก  กาญจนา อ่อนเมือง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 10:56น.

การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของผู้มารับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของผู้มารับบริการมากเกินไป คือ ผู้มารับบริการบางรายเรียกร้องยาเกินความจำเป็น เช่น ไม่มีอาการแต่อยากได้ยาเผื่อไว้ และอยากได้ยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทาน พอไม่ได้ตามใจตนเองก็เกิดการร้องเรียนขึ้นมา อยากฝากให้ทาง สปสช. ชี้แจงให้ชัดเจนกว่านี้


คลินิก  นส.พาฝัน คีรีคำรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 10:47น.

การใช้สิทธิ พรบ. และ สิทธิ บัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจเมื่อประสพอุบัติเหตุจากรถว่าจะต้องใช้สิทธิในส่วนของพรบ.ก่อน หรือสิทธิบัตรทอก่อน แต่ตามความเข้าใจของประชาชน คิดว่ามีสิทธิบัตรทองอยู่รักษาได้ฟรี อยากให้มีการทำสื่อหรือประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการใช้สิทธิอุบัติเหตุทางรถ ออกมาให้ชัดเจน เพื่อที่ประชาชนจะได้เข้าใจในสิทธิในการรักษามากขึ้น


คลินิก  พันนิดา (เรือพระร่วงคลินิกสาขา 2)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 10:45น.

การขอใช้สิทธิต่างเขตพื้นที่

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

การขอใช้สิทธิต่างเขตพื้นที่ ผู้มารับบริการยังไม่เข้าใจการใช้สิทธิบัตรทองของตนเอง บางคนเข้าใจว่ามีสิทธิบัตรทองแล้วสามารถเข้ารับการรักษาฟรีทุกพื้นที่ ที่ไหนก็ได้ ซึ่งมันทำให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้มารับบริการ และทำให้เกิดการร้องเรียน หรือมีปัญหากัน อยากฝากให้ประชาสัมพันธ์ การเข้าถึงให้กับผู้มารับบริการให้ชัดเจนกว่านี้ จะได้ไม่เกิดปัญหา ค่ะ


คลินิก  นส.สีตีคอลีเยาะ เจ๊ะดือราแม  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 10:32น.

ในกรณีที่มีผู้ป่วยฉุกเฉิน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ในกรณีที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นกระทันหัน ต้องการเรียกรถพยาบาลให้มารับผู้ป่วย บางครั้งรถฉุกเฉินก็จะถามเรื่องสิทธิผู้ป่วยก่อน ซึ่งเป็นการล่าช้าในการส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เพราะจะซักถามแต่เรื่องสิทธิของผู้ป่วย รายละเอียดต่างๆ ไม่ได้คำนึงถึงอาการเจ็บป่วยหรืออาการฉุกเฉินของผู้ป่วย ในกรณีนี้ขอความชัดเจนด้วยค่ะ


คลินิก  เรือพระร่วงคลินิกสาขา 2  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 09:36น.

สปสช. ควรมีแนวทาง IC ให้ดำเนินไปแนวทางเดียวกัน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

อยากให้ทางสปสช. จัดทำแนวทางเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ IC ให้เป็นแบบแผนเดียวกันทุกคลินิกชุมชนอบอุ่น เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติแนวทางเดียวกัน

ประเด็นแรก...บุคลากรมีหลากหลายวิชาชีพ โดยเฉพาะนักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งไม่เคยทราบเรื่องเหล่านี้ พยาบาลต้องลงไปสอน บางคนก็ยังไม่เข้าใจ ทำตามวิธีฉัน

ประเด็นที่สอง...เปลี่ยนเกณฑ์คะแนนทุกปี บางคณะกรรมการ รพ.แม่ข่าย สปสช.เอง เสนอแนะข้อมูลไม่เหมือนกัน บางบริบทก็ทำไม่ได้ เพราะเนื่องจากต้องมีการประหยัดค่าใช้จ่ายของทางคลินิกด้วย

ประเด็นที่สาม...ผู้ตรวจประเมินที่หนึ่งเสนอแนะอย่างนึง พออีกปีทำตาม อีกชุดมาตรวจ บอกว่าไม่ถูกต้อง คลินิกหัวหมุนทุกปี จึงอยากให้ทางสปสช. ทำแนวทางออกมาใช้เหมือนกันทุกคลินิก และเป็นปัญหาเรื่องสำคัญที่ควรให้สปสช. เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ครั้งสำคัญอย่างที่สุดค่ะ


คลินิก  IC จุกจิกมาก   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 09:08น.

การมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

ประชาชนผู้ที่มีประวัติการรักษา และดูแลอยู่แล้ว ควรมีส่วนร่วมจ่าย ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมระดับอาการได้ในบางโรคที่สามารถดูแลตัวเองได้เอง เพื่อเป็นการกำกับดูแลร่วมกับหน่วยบริการ และเพื่อสร้างจิตสำนึกในโรคที่เป็นอยู่ ว่าสามารถลดหรือปรับการใช้ยาได้ตามการควบคุมอาการเหล่านั้น


คลินิก  จิตตินันท์  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 09:00น.

ในกรณีที่ มีผู้ป่วยฉุกเฉิน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ในกรณีที่ มีผู้ป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นกระทันหันและต้องการเรียกรถพยาบาลให้มารับผู้ป่วยเกิดการล่าช้า ในการประการสานงานกับ รถที่เกี่ยวข้องที่ใกล้ผู้ป่วยมากที่สุดและขอบเขตของการที่จะมารับ ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายแจ้งว่าให้ไปรับที่บ้าน พอถึงโรงพยาบาลกลับให้ผู้ป่วยชำระเงินค่ารับส่งซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่มีเงินในการจ้างวานรถรับส่งจึงหวังพึ่งรถพยาบาลให้ช่วยเหลือในส่วนนี้ ขอความชัดเจนในกรณีที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม


คลินิก  น.ส.อมรรัตน์ เขียวอ่อน คลินกเรือพระร่วงสหคลินิก  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 08:59น.

การเลือกหน่วยบริการสิทธิบัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

การเลือกหน่วยบริการสิทธิบัตรทองประจำหลักๆจะยึดตามพื้นที่อาศัยจริง ตามที่อยู่บัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้าน แต่พอจริงๆแล้ว ผู้มารับบริการบางท่าน ไม่ทราบสิทธิการรักษาของตัวเอง เหมือนว่าตัวอาศัยอยู่อีกที่หนึ่ง แต่สิทธิอยู่อีกทีหนึ่ง มันทำให้มีปัญหาเมื่อผู้มารับบริการต้องเดินทางไกล ซึ่งไม่ได้ยึดหลักการ ใกล้บ้านใกล้ใจค่ะ และขั้นตอนการขึ้นสิทธิการเลือกหน่วยบริการ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควรจะอธิบายหรือ มีการประชาสัมพันธ์การใช้สิทธิให้มากขึ้นค่ะ


คลินิก  น.ส.กรรณิกา แก้วจันลา 18/6 ม.7 ท่าข้าม บางขุนเทียน กทม. 10150(ชุดเครื่องเขียนลดโลกร้อน)  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 08:28น.

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

การมีส่วนร่วมมีความสำคัญ ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ
1.เป็นเครื่องชี้วัดความต้องการของประชาชนในชุมชนต่อการพัฒนาชุมชนนั้นๆ
2.เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เพราะเป็นสิทธิที่ทุกคนจะได้รับการเคารพและได้รับเกียรติเท่าเทียมกัน
3.เป็นการสร้างพลังอันเข้มแข็งของชุมชนต่อการทำงานร่วมกัน มีข้อตกลงซึ่งกันและกัน และมีการประชุมร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
4.เป็นส่วนของกระบวนการบริหารการพัฒนาชุมชนแบบเบ็ดเสร็จของแต่ละชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ


คลินิก  นาย สุกรี แวมะมิง   เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 08:18น.

ผู้มารับบริการไม่รู้ขอบเขตการรักษาตามสิทธิของตัวเองเรียกร้องและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการมารับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้มารับบริการไม่รู้ขอบเขตการรักษาตามสิทธิของตัวเองเรียกร้องและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการมารับบริการ


คลินิก  นางสาวศิรินภรณ์ ธรรมสอน  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 07:55น.

การทำงานในกรุงเทพมหานคร

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ขอเป็นเรื่องเล่าเช้าน้ี อันยาวนานมากกว่า10ปีของคนกทม.ที่รักการทำงานในคลินิกอบอุ่น
การบริการที่บอกว่าให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว ได้ไม่ทุกกลุ่ม ชุมชนใกล้ๆเรารั้วติดกันบัตรสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ไกลๆ บางชุมชนสอบถามจากผู้นำชุมชนไม่มีใครมาดูแล เราอยากลงไปบริการทำได้ไม่ครบทุกด้านเพราะมีบางอย่างที่ทำไม่ได้ การประชุมทุกครั้งมีผู้สอบถามบ่อยมาก แต่ก็เหมือนเดิม
ข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบัตรสุขภาพถ้วนหน้าน้อยมาก แต่ข่าวล่วงละเมิดทางเพศเด็ก14ปีมีทุกวัน
งานหมอครอบครัว กำลังไปได้ดี ให้คลินิกได้ทำต่อให้ครบทุกด้าน
การร้องเรียน ของผู้รับบริการ กลับไปทบทวน คลินิกผิดตลอด เพราะผู้ใช้บริการคือพระราชาตามหนังสือทีเรียนมา
การRefer. ไปทุติยภููมิและตติยภูมิบางแห่งยังมีปัญหา เมื่อมีการใช้รถพยาบาล และกรณีที่ผู้ป่วยAdmit
ร.พ.ของรัฐบางแห่งแน่นตลอดทั้งวัน บางแห่งช่วงบ่ายโล่งมากๆเพราะไม่ตรวจตอนบ่าย
ถ้าจะลดความแออัดในรพ. สปสชต้องทำอย่างจริงจัง แล้วทั้งหมดนี้เรายังเชื่อมั่นว่าท่านทำได้


คลินิก  สุมนา ทรัพย์สุวรรณเรือพระร่วงสาขา4  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 07:20น.

การให้บริการและขอบเขตบัตรทอง

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

จากการให้บริการพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังยังไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองและการรักษาเสนอแนะให้เรียกเก็บเงินผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เขาจะได้รู้ว่าทุกครั้งที่เขาไม่ยอมดูแลตนเองปล่อยให้น้ำตาลสูงความดันสูงเขาต้องจ่ายค่ายาเท่าไหร่เป็นหลักทางจิตวิทยาสปสช ควรนำพิจารณา


คลินิก  ice23855  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 07:08น.

จัดประชุมร่วมด่วนการจัดการแก้ไขภาระหนี้คงค้างจากการส่งต่อ

การบริหารจัดการกองทุน
 

1ให้สปสชชี้แจงและให้แต่ละคลินิกตรวจสอบความถูกต้องภาระหนี้คงค้างจากการส่งต่อ2ร่วมหาแนวทางแก้ไขช่วยเหลือโดยเร่งด่วน3แจ้งแนวทางtimelineการจ่ายเงินแต่ละส่วนให้ชัดเจนเช่นค่าเหมาจ่ายรายหัวทุกวันที่25เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานจ่ายเงินและการบัญชีของทุกคลินิก


คลินิก  พญนันทวัน ชอุ่มทอง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 03:52น.

การแบ่งโซนผปโรคมะเร็งตาม8โซนตามแม่ข่าย

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

1มีการประชาสัมพันธ์การแบ่งโซนการส่งต่อผปมะเร็ง8โซนเพื่อให้กระจายการรักษาผปในรพแม่ข่ายไม่แออัด2ห้ามย้ายสิทธิ์ผปมะเร็งจากต่างจังหวัดเข้ามารักษาในกทมแต่ให้ส่งต่อรพภูมิภาคเนื่องจากรพ ต่างจังหวัดมีการแนะนำผปให้ย้ายสิทธิ์มารักษารพในกทมทำให้เป็นการย้ายสิทธิ์มาผิดปกติและส่งผลกระทบกองทุนop referและกองทุนกลางของกทม


คลินิก  พญนันทวัน ชอุ่มทอง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 03:03น.

ควรมีแบบสำรวจความพึงพอใจและการประเมินผลผู้มาตรวจประเมินประจำทุกปี

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เพื่อเป็นการfeedbackการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้มาตรวจประเมินคลินิกและรพประจำปี ว่ามีมาตรฐานการตรวจและการปฎิบัติต่อผู้ถูกตรวจประเมินเช่นไร ควรให้ผู้ตรวจประเมิน ถือแบบสำรวจความพึงพอใจในการถูกตรวจประเมินมาให้คลินิกและรพตอบกลับด้วยค่ะ


คลินิก  พญนันทวัน ชอุ่มทอง  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 02:42น.

หมอครอบครัวกับการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกในชุมชนของคลินิกชุมชนอบอุ่น

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คลินิกชุมชนอบอุ่นที่มีศักยภาพส่วนหนึ่งในพื้นที่ กทม.ไม่สามารถจัดรูปแบบบริการแบบคลินิกหมอครอบครัวตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวได้ ด้วยมีข้อขัดข้องกับระบบบริการสาธารสุขของ กทม.ที่ไม่สามารถจัดพื้นที่บริการแบบ area base ให้คลินิกได้ ดังนั้นเพื่อให้ประชากร UC ที่ขึ้นทะเบียนกับคลินิกได้รับบริการแบบหมอครอบครัว รวมถึงบริการ PP นอก ตามพื้นที่อยู่อาศัยจริง และเพื่อให้เกิดแนวทางการบริบาลตามเกณฑ์ของเวชศาสตร์ครอบครัวเหมือนกับพื้นที่ของต่างจังหวัดกระทำอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นสมควรพิจารณาวางแผนดำเนินการให้คลินิกชุมชนอบอุ่นมีพื้นที่รับผิดชอบ สามารถปฏิบัติงาน PP นอกได้ โดยเริ่มที่บริเวณรอบคลินิกที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันก่อน ให้ครอบคลุมประชากร ประมาณ ๑ หมื่นคนเศษ


คลินิก  นพ.เฉลิมพร บุญสิริ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 01:19น.

การจัดบริการกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

การจัดบริการกองทุนต่างๆยังไม่ครบผู้รับบริการยังได้รับบริการไม่เหมือนกัน และไม่ครอบคลุมทั้งหมด


คลินิก  สุมนาทรัพย์สุวรรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:31น.

ไม่มีงบประมาณในการทำงานร่วมกับประชาชน

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

การทำงานกับภาคประชาชน มีค่าใช้จ่ายทุกโครงการที่จัดบริการหากมีงบสนับสนุนจัดสรรบ้างก็จะดี


คลินิก  สุมนาทรัพย์สุวรรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:24น.

การจัดบริการกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

การจัดบริการกองทุนต่างๆยังไม่ครบผู้รับบริการยังได้รับบริการไม่เหมือนกัน และไม่ครอบคลุมทั้งหมด


คลินิก  สุมนาทรัพย์สุวรรณ  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:16น.

การจัดอบรม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

การจัดอบรมบุคคลากรในคลินิกอยากให้สปสชจัดการอบรมให้ครบด้วยมาตรฐานเดียวกันร่วมหน่วยงานของรัฐ


คลินิก  สุมนา ทรัพย์สุวรรณเรือพระร่วงสาขา4  เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560 00:00น.

การประชาสัมพันธ์

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

การประชาสัมพันธ้ เรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้รับบริการ สปสชควรจะแจ้งให้ชัดเจนให้มากกว่าน้ีผู้ที่ลงทะเบียนในการเปลี่ยนสิทธิต้องอธิบายให้ชัดเจน การประชาสัมพันธ์แค่นำบัตรประชาชนไปยื่น ผู้รับบริการเข้าใจคลาดเคลือดไปยื่นไม่ตรงบัตรใช้บริการไม่ได้


คลินิก  สุมนา ทรัพย์สุวรรณเรือพระร่วงสาขา4  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 23:51น.

การจัดสรร และ การใช้เงิน กองทุน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

1.เพื่อลดภาระการใช้เงินรักษาพยาบาลจากทุกกองทุนของกทม. สปสช.ควรทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ที่มีภูมิลำเนาต่างจังหวัด ได้ทราบถึงศักยภาพที่ดีเยี่ยมของการรักษาโรคยาก เช่นมะเร็ง หัวใจ ไต โรคเลือด เป็นต้น ของโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนกลุ่มนี้ ไม่ต้องย้ายสิทธิมารักษาที่กทม. การจัดงานประชาสัมพันธ์ และรับลงทะเบียนสิทธิ ที่หัวลำโพง เป็นการเพิ่มภาระและซ้ำเติมเงินที่ไม่เพียงพอ ของกองทุน OP Refer ของกทม.
2.การคืนเงิน กองทุน PP เหลือจ่าย กลับไปสปสช.กลาง ทำให้ประชาชน กทม.ไม่ได้รับค่าเหมาจ่ายหลายหัว เต็มจำนวนตามที่รัฐบาลประกาศ ขอให้สปสช.กทม.หารือ สปสช.กลาง ขออนุมัติย้ายเงินข้ามกองทุน มาใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เพียงพอคือกองทุน OP Refer หรือจะจัดสรรเงิน กองทุน PP ให้น้อยลง
3.กรณี การจัดสรร ค่าเหมาจ่ายรายหัวของกทม.มีวิธีจัดสรร ที่แตกต่างจากเขตอื่นๆ ขอให้แจ้งข้อมูลดิบ ที่นำมาคำนวณให้หน่วยบริการประจำด้วย เนื่องจากปีงบประมาณ 2560 แจ้งเพียงสูตร ที่นำมาคำนวณ


คลินิก  ยุพดี สุนทรวิวัฒนา รพ.นันอา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 22:36น.

การใช้สิทธิ์ พรบ.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ในส่วนของประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความไม่เข้าใจเมื่อประสพอุบัติเหตุจากรถว่าจะต้องใช้สิทธิ์ในส่วนของพรบ.ก่อน เมื่อประสพเหตุก็จะมาใช้บริการที่หน่วยบริการประจำของตนเชื่อว่ามีสิทธิ์อยู่รักษาได้ฟรี อยากให้มีการทำสื่อประชาสัมพันธ์ในส่วนนี้ออกมาให้ชัดเจนเพื่อที่ประชาชนจะได้เข้าใจในสิทธิการรักษาของตัวเองมากขึ้น


คลินิก  น.สธัญญ์พิชชา เอื้อนิรันดร์กุล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 22:28น.

การเรียกรถพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ในกรณีที่ มีผู้ป่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นกระทันหันและต้องการเรียกรถพยาบาลให้มารับผู้ป่วยเกิดการล่าช้า ในการประการสานงานกับ รถที่เกี่ยวข้องที่ใกล้ผู้ป่วยมากที่สุดและขอบเขตของการที่จะมารับ ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายแจ้งว่าให้ไปรับที่บ้าน พอถึงโรงพยาบาลกลับให้ผู้ป่วยชำระเงินค่ารับส่งซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่มีเงินในการจ้างวานรถรับส่งจึงหวังพึ่งรถพยาบาลให้ช่วยเหลือในส่วนนี้ ขอความชัดเจนในกรณีที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม


คลินิก  นางสาวชนิดาภา สีบุษผา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 22:14น.

การใช้สิทธิ์พรบ.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเช่น mca ผู้ป่วยมักจะมาขอรับการรักษาตามที่ตัวเองมีสิทธิ์อยู่ ซึ่งผู้ป่วยบางรายยังไม่ทราบว่าต้องใช้สิทธิ์พรบ.ให้หมดก่อน แล้วค่อยกลับมาใช้สิทธิ์บัตรทอง


คลินิก  การ์ตีกา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:56น.

การใช้สิทธิ์พรบ.ในการรับการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

กรณีที่ผู้ป่วยบางคนประสบอุบัติเหตุทางท้องถนนมา เช่นรถยนต์ชนกับรถสิบล้อ แล้วมาขอรับการรักษาที่สถานบริการที่ตนเองมีสิทธิอยู่ ผู้ป่วยเข้าใจแต่เพียงว่าตนเองมีสิทธิ 30บ. จึงต้องการใช้สิทธิ30บ.ในการรักษา ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะทำการชี้แจงให้ฟังโดยละเอียดแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ป่วยบางประเภท ที่ยังไม่เข้าใจ ไม่รู้สิทธิการรักษาของตนเองพร้อมกับแสดงพฤติกรรมและคำพูดที่ไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ อยากให้ สปสช. มีมาตรการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจและรับรู้ในส่วนนี้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจได้ตรงกัน และไม่เกิดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น


คลินิก  Numtan   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:44น.

พรบ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรชี้แจงการได้รับสิทธิต่าฃๆให้กับประชาชนมากขึ้นเรื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในการใช้สิทธิต่างๆที่ควรจะได้รับ


คลินิก  นางสาวรัตติกาล จันทร์อิ่ม  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:40น.

เรื่องร้องเรียนหน่วยบริการ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เรื่องร้องเรียนหน่วยบริการมีแต่ผู้รับบริการหรือคนไข้ที่สามารถร้องเรียนหน่วยบริการได้ แต่สำหรับคนไข้บางรายที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม น่าจะมีการจัดการที่ดีกว่านี้ เช่น คลินิกสามารถร้องเรียนคนไข้ที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้บ้าง หรือสามารถย้ายสิทธิ์คนไข้ออกจากหน่วยบริการได้


คลินิก  พัชรี สมีเพ็ชร  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:32น.

โทร หา เบอร์ 02 ประสานงานติดอยากมาก

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

โทรติด ก็ เจ้าหน้าที่ไม่อยุ่


คลินิก  วิภาวดี 49 คลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:29น.

มาตรฐาน ต้องมีการอบรมความรู้อยุ่เสมอ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

จัดการอบรม


คลินิก  พหลโยธิน 65 คลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:27น.

ให้คนไข้ช่วยร่วมจ่ายด้วย

การบริหารจัดการกองทุน
 

คนไข้ร่วมจ่ายด้วย


คลินิก  เจริญกรุง 91 คลินิกเวชกรรม  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:26น.

ผู้มารับบริการไม่รู้ขอบเขตการรักษาตามสิทธิของตัวเองเรียกร้องและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการมารับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิมากกว่านี้เพื่อจะได้ลดข้อร้องเรียนลงค่ะ


คลินิก  สุรีรัตน์ ไชยเสน  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:25น.

ประชาสัมพันธ์การรับรู้สิทธิ์การรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีโฆษณา(ทีวีที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย) ในช่อง 3 5 7 9 .....ช่องทางใหญ่ๆที่ทุกคนสามารถเข้าถึงในการประชาสัมพันธ์ถึงการทราบสิทธิ์การรักษา เช็คสิทธิ์ สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนควรจะได้ เนื่อจากยังมีบางส่วนที่ยังไม่ทราบสิทธิการรักษา จึงไม่ได้เข้าทำการรักษา ตรวจสุขภาพ ซื้อยาทานเอง หรือ พบแพทย์ชำระเงินเองในราคาแพงๆ


คลินิก  นวลอนงค์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:25น.

ช่วยกำหนดขอบเขตคำว่าสิทธิการใช้บัตรทองให้ชัดเจน

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

กำหนดของเขตให้ชัดเจน


คลินิก  คลินิก  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:25น.

การร้องเรียนของผู้รับบริการ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ผู้รับบริการไม่เข้าใจกับการที่ต้องจ่ายเงิน เช่น ยานอกบัญชี ทั้งๆที่ใช้บัตรทอง ซึ่งเกิดข้อขัดแย้งหลายครั้ง การทำงานล่าช้าของผู้ให้บริการ ทั้งๆที่ผู้ให้บริการให้บริการอย่างเต็มที่


คลินิก  สรินยา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:20น.

การแบ่งพื้นที่

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ไม่มีพื้นที่ที่ชัดเจนในการทำงานออกเยี่ยมบ้านต่างๆ อยากให้แบ่งให้ชัดเจน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก และในเรื่องการลงพื้นที่คัดกรองคลินิกน่าจะสามารถลงคัดกรองได้


คลินิก  สุพิศ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:19น.

ยานอกบัญชี

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ควรมีมาตรฐานและชื่อรายการยาประกาศให้ประชาชนผู้รับบริการทราบ ว่ามีรายการยานอกบัญชีอะไรบ้างและเมื่อเกิดข้อร้องเรียนควรแจ้งหรืออธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจ


คลินิก  Nong noy  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:18น.

การลงชุมชน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

มีการแบ่งพื้นที่การดูแลของศบส.และคลินิกชุมชนอบอุ่น ซึ่งทำให้ เป็นอุปสรรคในการทำงารลงชุมชน และการเข้าถึงชุมชนของคลินิกชุมชนอบอุ่นเนื่องจากเป็นพื้นที่การรับผิดชอบซับซ้อนกัน


คลินิก  วิมล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:12น.

ข้อจำกัดในการให้บริการของคลินิกมีมากเกินไป

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ข้อจำกัดในการให้บริการของคลินิกมีมากเกินไป ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความลำบาก อย่างเช่น การคัดกรองในชุมชนก็ไม่สามารถทำได้ เป็นต้น


คลินิก  พนิดา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:08น.

มาคลินิกทีไร..ได้เสียค่ายาตลอด!!

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

บางครั้งในการมารับบริการของคนไข้ ก็มีหลายอาการ หลายโรคด้วยกัน แต่ในกรณี ที่คนไข้มีการปํญหาทางด้านสุขภาพ ที่ยาในบัญชียาหลักรักษา ไม่หาย แพทย์จำเป็นต้องจ่ายเป็นรายการยานอกบัญชี ให้กับคนไข้ และทางเจ้าหน้าที่ก็แจ้งให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง ในกรณีมียานอกบัญชี แต่ก็ยังมีผู้ป่วยไม่พอดีในการให้บริการของคลินิกค่ะ


คลินิก  นางสาวจุฑาลักษณ์ ทิพประมวล   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:04น.

การมาใช้บริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้รับบริการทุกท่าน ทราบถึงการแสดงเอกสาร เมื่อเข้ามาใช้บริการ เช่น บัตรประชาชน ใบเกิด คู่กับบัตรของสถานบริการ เพื่อง่ายต่อการค้นหาประวัติ


คลินิก  น.ส ดนยา หาญป้อ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:04น.

ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1.สิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ
2.เอกสาร หลักฐานการใช้สิทธิ
3.วันและเวลาทำการของสถานบริการ
4.อาการเร่งด่วนฉุกเฉิน ที่สามารถใช้บริการที่ไหนก็ได้ในสถานบริการของภาครัฐ


คลินิก  ปรัศนีย์ นามท้าว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 21:03น.

สิทธิบัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิบัตรทองและหน้าที่ของผู้มารับบริการให้ชัดเจน โดยเฉพาะการนำบัตรประชาชนและใบเกิดมาแสดงตนทุกครั้งที่มารับบริการ


คลินิก  นางสาวปนัดดา รู้เกณฑ์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 20:50น.

ยานอกบัญชี จำเป็นต้องใช้ หรืออยากได้ตังค์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประเด็นจุกอกทุกครั้งสำหรับคนจน คนทั่วไปหรือคนถือบัตรทอง หรือบัตรประกันสังคมประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องยานอกบัญชี ยาที่ถูกทำให้เชื่อว่าเป็นยาดียาเทวดา มีราคาแพง จึงอยู่นอกบัญชียาฟรีสำหรับประชาชนคนธรรมดา ควรประกาศให้คนไข้ได้รู้สิทธิ์ว่าจะรับหรือไม่รับก็ได้ ไม่ใช่แนวบังคับว่าต้องรับ ชาวบ้านธรรมดาเขาไม่เข้าใจ เข้าใจแต่ว่า ต้องจ่ายเงินจึงจะได้ยา หรือมีมารตการสั่งจ่ายอาจพิจารณาใช้ในบัญชีก่อนเป็นสำคัญ แล้วเฉพาะเอกชน ราคายาไม่ได้ถูกเลย


คลินิก  PECH T.  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 20:37น.

การย้ายสิทธิเพื่อการรักษาโดยมิได้มีการอาศัยอยู่จริงในพื้นที่ กทม

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เมื่อคลินิกมีการทักท้วงเรื่องการย้ายสิทธิเพื่อเข้ามารักษาอย่างเดียว ขอให้เจ้าหน้าที่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพื่อรักษาสิทธิของประชากรพื้นที่ กทม ลดความแออัดในการให้บริการ ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการส่งต่อซึ่งปัจจุบันไม่พอเพียง
ทั้งนี้มีกรณีที่เกิดขึ้นหลายครั้ง. และไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการ และคลินิกต้องเป็นผู้รับภาระเรื่องค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลตติยภูมิ ก็ต้องรับภาระในเรื่องของการให้บริการ ซึ่งไม่เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการกระจายประชากรของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อลดความแออัดในการเข้ามารับบริการที่ โรงพยาบาล


คลินิก  พญ. ศศิณัชญ์ นิพนธ์อารักษ์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 20:34น.

ผู้ป่วยมักโทรศัพท์ไปร้องเรียนสปสช.เรื่องยานอกบัญชีเกินความจำเป็น

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ผู้ป่วยมักโทรศัพท์ไปร้องเรียนสปสช.เรื่องยานอกบัญชี ทั้งที่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ทราบก่อน อธิบายเหตุผลที่ไม่จ่ายยาแก้ไอ Dextrometrophan ในผู้ป่วยบางประเภท เช่น โรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจ ไม่ทราบว่าเพราะไม่อยากเสียเงินหรืออย่างไร และไม่ทราบว่าเหตุผลอะไร กลายเป็นว่าแพทย์ต้องลงมาเป็นผู้แจ้งว่ามีราคานอกบัญชีบ่อยครั้งในช่วงหลังๆ อยากให้ทางสปสช. รณรงค์ทำป้ายประกาศให้ชัดเจนมียานอกบัญชีใด ให้ผู้ป่วยผู้รับบริการทราบ และบอกข้อดีข้อเสียของยาแต่ละชนิดที่จำเป็นต้องจ่ายนอกบัญชีเพราะอะไร เป็นโฆษณาไปเลยค่ะ
มีปัญหาลักษณะนี้บ่อยมาก และทางสปสช.มักบอกเสมอว่า ทางคลินิกไม่ยอมแจ้งคนไข้เอง ทั้งที่บอกจนปากเปียกปากแฉะ จนเป็นปัญหาที่ไม่เคยจะแก้ได้


คลินิก  ผาณิต เพียรทำ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 20:15น.

ควรให้ประชาชนร่วมจ่าย 30 เปอร์เซ็นของค่าบริการสาธารณสุข

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ควรให้ประชาชนร่วมจ่าย 30 เปอร์เซ็นของค่าบริการสาธารณสุข เพราะถ้าไม่ร่วมจ่ายระบบจะถูกทำลายด้วยนำ้มือประชาชนเองเพราะไม่มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพประเทศก็ยังด้อยพัฒนาต่อไป ความเจริยและความตระหนักในสุขภาพจะลดหายไปมีเพียงแต่ว่ารัฐมีหน้าที่ต้องดูแลประชาชนเพราะประชาชนเสียภาษีแล้วไม่ถูกต้อง ยกเว้นผู้ไม่มี ทำหนังสือขอช่วยเหลือโดยขอใช้สิทธิอนาถา ถึงจะถูกต้องเพราะทุกคนที่มีสิทธิฐานะแตกต่างกันแต่คนมีก็ต้องชาวยรัฐบาลดูแลด้วย


คลินิก  รัชฎาภรณ์ 08161425254  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 19:59น.

ทันตกรรม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เรื่องการทำทันตกรรมของผู้ป่วยสิทธิ์ucในเขต กทม.อยากให้ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในเรื่องของการได้รับการบริการทางด้านทันตกรรมอย่างทั่วถึงและครอบคลุมในการส่งต่อผู้ป่วยที่จะทำการรักษาทางด้านทันตกรรม


คลินิก  พรรณนิกา ทิแพง  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 19:59น.

สิ่งที่นำมาแสดงเพื่อใช้สิทธิ์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ประชาสัมพันธ์การนำบัตรประชาชน และใบเกิดมาแสดงตนทุกครั้งในการมารับบริการ


คลินิก  พรรณนิกา ทิแพง  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 19:58น.

อยากให้เชื่อมต่อข้อมูลทางด้านยาดียิ่งขึ้น

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

จากการที่นำระบบ TMT เข้ามาจับระบบยา ทำให้การส่งต่อข้อมูลทางด้านยาดีขึ้น แต่ยังติดปัญหาในเรื่องวิธีการใช้ยายังแสดงให้ไม่ครบถ้วน ทำให้ต้องใช้ฉลากยาควบคู่ ในบางครั้งคนไข้ไม่ได้นำฉลากเดิมมา และจำวิธีทานไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาในการส่งต่อข้อมูลทางด้านยา


คลินิก  ภก.รณัย  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 18:03น.

เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การใช้สิทธิ์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ต้องการให้ทางสำนักงานมีการประชาสัมพันธ์การใช้สิทธิการคุ้มครองสิทธิ์ให้กับประชาชนได้ทราบมากขึ้น เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากมีประชาชนบางกลุ่มไม่ทราบถึงการใช้สิทธิ์ของตนเอง


คลินิก  นางสาววนิดา ศักดา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 17:08น.

ทัตกรรม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เรื่องการทำทันตกรรมของผู้ป่วยสิทธิ์ucในเขต กทม.อยากให้ศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในเรื่องของการได้รับการบริการทางด้านทันตกรรมอย่างทั่วถึงและครอบคลุมในการส่งต่อผู้ป่วยที่จะทำการรักษาทางด้านทันตกรรม


คลินิก  เรือพระร่วงคลินิกเวชกรรมสาขา3  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 17:08น.

เรื่องร้องเรียนหน่วยบริการ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เรื่องร้องเรียนหน่วยบริการมีแต่ผู้รับบริการหรือคนไข้ที่สามารถร้องเรียนหน่วยบริการได้ แต่สำหรับคนไข้บางรายที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม น่าจะมีการจัดการที่ดีกว่านี้ เช่น คลินิกสามารถร้องเรียนคนไข้ที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้บ้าง หรือสามารถย้ายสิทธิ์คนไข้ออกจากหน่วยบริการได้


คลินิก  เรื่องร้องเรียนหน่วยบริการ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 17:05น.

การล้างไต

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้ป่วยบางรายยังไม่ทราบรายละเอียดในการล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่องหรือการฟอกเลือดด้วยไตเทียมสามารถเข้าโครงการได้กับทางสปสช และค่าใช้จ่ายในการล้างไตที่ต้องร่วมจ่าย


คลินิก  อาอีเสาะ. อาเย๊าะ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:55น.

ขอให้ทุกรพใช้ยาในบัญชียาหลักตามมติบอร์ดชาติ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

รพ เลิดสิน ยังขอใช้ยานอกบัญชียาหลักบางตัว แต่ทางคลินิกชุมชนมีมติร่วมกันขอให้ทุกรพปฎิบัติเหมือนกันตามมติบอร์ดชาติซึ่งสูงสุดแล้วหากยาตัวไหนจำเป็นต้องใช้ก็ให้ทำเรื่องขออนุมัติคณะอนุกรรมการยาพิจารณาเพิ่มเติมมาเป็นกรณีไป


คลินิก  พญนันทวัน ชอุ่มทอง  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:55น.

ANC

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากเสนอเรื่อง ANC อยากให้ สปสช มีแนวทาง / มาตรการ การดูแล ญ ตั้งครรภ์

ปัจจุบัน ปัญหา คือ ญ ตั้งครรภ์ ที่ย้ายสิทธิ ขณะตั้งครรภ์ หรือ ไม่มาฝากครรภ์ จนใกล้คลอดถึงมาขอใบ ส่งตัว
ทำให้หน่วยบริการได้รับผลกระทบในส่วนการดูแลผู้รับบริการกลุ่มนี้ได้ไม่ครอบคลุม ที่สำคัญ การนำมานับเป็นตัวชี้วัด
ทำให้หน่วยบริการได้คะแนนค่อนข้างน้อย

เสนอให้ ไม่ควรมีการย้ายสิทธิ ในขณะตั้งครรภ์ หรือ ควรปรับคะแนน ตัวชี้วัดใหม่


คลินิก  สำลี   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:54น.

ขั้นตอนการรักษาของสิทธิ์บัตรทอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เนื่องจากผู้รับบริการไม่มีความรู้เรื่องสิทธิ์การรักษาของสิทธิ์บัตรทอง ขั้นตอนวิธีดำเนินการ ต่างๆเช่นในกรณีที่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยมีโรคประจำตัวที่รักษาต่อเนื่องอยู่แล้ว ย้ายสิทธิ์การรักษา แล้วไม่ได้นำประวัติการรักษาเดิมมาด้วย ทางเจ้าหน้าที่จึงต้องแนะนำให้ผู้รับบริการกลับไปขอประวัติการรักษาเดิม จะยิ่งยากในกรณีที่รักษาต่างจังหวัด ทางผู้รับบริการจะแจ้งว่าไม่รู้ว่าจะต้องขอมาด้วย และเจ้าหน้าที่จากสถานพยาบาลเดิมไม่ได้แนะนำมา ผู้รับบริการจะขอว่าให้เริ่มรักษาใหม่ ทำให้เกิดความยุ่งยากทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จึงอยากให้มีการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆที่จะทำให้ผู้รับบริการรู้และเข้าใจมากขึ้น


คลินิก  Apichaya Bumrungphadungkij  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:53น.

การดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ปัจจุยันระบบสุขภาพไทยมีการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงหลักของมนุษยธรรมและคุณภาพในการให้บริการ รัฐบาลควรมีมาตรการ โดยเน้นคุณภาพการบริการของรับบริการมากกว่าเน้นปริมาณ เพื่อให้สถานพยาบาลได้ผลงาน โดยเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ บางสถานพยาบาลไม่ได้กระทำจริงๆกับผู้รับบริการจริง แต่สมมุติข้อมูลขึ้นมา ผลเสียตกอยู่ที่ประชาชน ทำให้เสียสิทธิ์ไป


คลินิก  ซารีฮัน (เรือ 1)  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:51น.

การรับรู้สิทธิการรักษาของตนเองและหลักฐานการมาใช้สิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1.อยากให้มีการประชาสัมพันธ์การเช็คสิทธิอัตโนมัติ1330ให้มากขึ้น
2.อยากให้ประชาสัมพันธ์การนำบัตรประชาชนมาแสดงตนทุกครั้งในการมารับบริการ


คลินิก  นางสาวมณีรัตน์ อินประยูร  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:41น.

แนะนำให้ความรู้เรื่องสิทธิการรักษาเหงือกและฟันของผู้ป่วย

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

การให้ความรู้ในการรักษาเหงือกและฟัน เน้น การรักษาเพื่อรักษาสุขภาพ เน้นการบดเคี้ยว ไม่ไช่เพื่อความสวยงาม สิทธิที่ทำฟันฟรี ได้แก่ ถอน ,อุด และขูดหินปูนรวมถึงการทำฟันปลอมเพื่อการบดเคี้ยว


คลินิก  พยาบาลวิชาชีพ ประจำเรือพระร่วงคลินิกเวชกรรม 3  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:41น.

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

- ประเด็นพื้นที่การทำงาน ปัจจุบัน สปสช รณรงค์ให้หน่วยบริการทำงานเชิงรุก แต่ไมไ่ด้เปิดโอกาศให้ หน่วยบริการรุกในชุมชนจริงๆ ในเรื่อง ของการคัดกรองต่าง
- ในส่วนเรื่องพื้นที่ หน่วยบริการทำงานโดนไม่มีพื้นที่ จะมีปัญหาเรื่องเวลาทำงานชุมชน จะเข้าทับซ้อนกับ ศุนย์ เช่น การเยี่ยมบ้าน เวลาคีย์ข้อมูล HHC เคสจะติดที่ศุนย์ คีย์ค้างไว้ไม่ปลดล๊อค ทำให้เสียเวลาในการทำงาน
- ปัญหาเรื่องร้องเรียน อยากให้ทางสปสช มี ที่ระบายให้ักับพนักงานบ้าง เปิดโอกาศและช่องทางให้พนักงานร้องเรียนหรือ ปกป้องบุคลากรของเราบ้าง อยากให้สปสช มีแนวทาง ลดความคาดหวังของประชาชนลงบ้าง เพื่อลดข้อร้องเรียน
- เรื่อง Refer อยากให้สปสช ทำความเข้าใจ กับประชาชน ให้ถ่องแท้ในเรื่องการส่งตัว เช่น แค่เป็นหวัด ก็อยากไป รพ. พอ เราไม่ส่ง ตัว ก็เกิดเรื่องร้องเรียน พอร้องเรียนไป ส่วนหนึ่งคลินิกก็จะโดนหักคะแนน และทำห้เกิดสัมพันธภาพไม่ดีระหว่างหน่วยบริการกับผู้รับบริการ


คลินิก  Beeraya   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:41น.

ประชาสัมพันธ์ในเรื่องการใช้สิทธิ์แต่ละสิทธิ์รวมทั้งสิทธิ์บัตรทอง

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการใช้สิทธิ์แต่ละสิทธิ์รวมถึงสิทธิ์บัตรทอง. ให้เข้าใจสิทธิ์มากขึ้น เพื่อจะได้มีความเข้าใจชัดเจนของผู้ใช้บริการ


คลินิก  มนัชญา มณีเขียว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:35น.

การใช้สิทธิได้ทุกสถานพยาบาล

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

สถานพยาบาลทุกที่ ทุกเขต ทั่วไทยสามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยได้จริงๆ ไม่มีข้อยกเว้น


คลินิก  น.ส.ยาเราะ บุญมาเลิศ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:31น.

ในกรณีโรตที่รักษาต่อเนื่องจากตติยภูมิ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรไปรับการรักษาต่อเนื่องจนจบการรักษาโดยเป็นหน้าที่ของร.พรับส่งต่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจนจบการรักษาเพื่อการรักษาต่อที่สมบูรณ์และช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกให้คนไข้ประหยัดเวลาและการเดินทางรวมถึงค่าใช้จ่ายให้คนไข้เพราะในรายส่งต่อไปส่วนมากก็เจ็บป่วยด้วยโรคทางกายทีร้ายแรงอยู่แล้วคะ


คลินิก  น.ส.อิสรีย์ยา พึ่งอารมณ์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:29น.

สิทธิเรื่อง ความคุ้มครองสำหรับผู้ประสบภัย (พรบ.รถยนต์/รถจักรยานยนต์)

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้ป่วยไม่ทราบเรื่อง พรบ.ประกันอุบัติเหตุ เนื่องจากไม่ทราบว่าต้องเบิก พรบ. ก่อน ถึงจะมาใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งต้องมีการสำรองเงินจ่าย แล้วไปเบิกกับทาง พรบ. เอง ซึ่งผู้ป่วยมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และจะขอใช้สิทธิบัตรทองตามสิทธิ ซึ่งทาง สปสช.ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ แจกให้หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการได้อ่าน และได้เข้าใจมากขึ้น


คลินิก  เรือพระร่วงคลินิกเวชกรรม สาขา 3   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:27น.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้สิทธิประโยชน์ของตนเอง


คลินิก  สุรพิชญ์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:24น.

การประสานงาน

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

การประสานงานระหว่างองค์กรกับทาง สปสช มีความล่าช้า ติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยได้ ทางหน่วยงาน สปสช. ไม่มีการส่งต่อข้อมูลกัน ทำให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อประสานงาน


คลินิก  พรรณวดี มงคลรัตน์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:23น.

การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการบริการและบุคลากรที่ครบถ้วน

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ข้อเสนอแนะ ขอให้มีการพัฒนา ด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ ให้ไม่มีการใช้ OPD card เพิ่มความเร็วในการบริการ
ขอให้มีบุคลากรทางการแพทย์ ครบถ้วนทุกสาขา เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ทันตแพทย์ กายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มศักยภาพ ให้กับการบริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ


คลินิก  เจ้าหน้าที่ เรือพระร่วงคลินิก 3  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 16:18น.

แก้ไขประกาศข้อบังคับพรบ.สถานบริการ

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ผลงานสร้างเสริมสุขภาพที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินมาจากการที่คลินิกไม่สามารถออกไปให้บริการนอกสถานที่ได้(ไปได้แต่คีย์ข้อมูลรับค่าตอบแทนไม่ได้ ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะดำเนินงาน) ควรจะ
1.แก้ไขประกาศให้เอื้อต่อการทำงาน
2. ทำแค่ไหนได้ค่าตอบแทนตามนั้น


คลินิก  ปอขวัญ นาคะผิว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 14:00น.

แก้ไขการใช้เงินงบประมาณข้ามหมวด เพื่อให้ผู็รับบริการได้รับผลประโยชน์สูงสุด

การบริหารจัดการกองทุน
 

กรณีมีงบบางงบเหลือ ควรมีการ"จัดการ"ให้สามารถดึงมาใช้ในงบที่ไม่พอ อาทิ งบค่าส่งต่อซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ๆ หลักๆของคลินิกชุมชนอบอุ่นที่มีหนี้ค้างชำระกับโรงพยาบาลส่งต่อ.เพราะเมื่อต้องรักษาตามมาตรฐาน ทำให้ต้องส่งตัวตามแนวทางการรักษา ค่าส่งตัวสูง


คลินิก  ปอขวัญ นาคะผิว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 13:49น.

ไม่มีงบประมาณในการทำงานร่วมกับภาคประชาชน

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

ก่อนนี้เคยมีงบประมาณในการทำงานร่วมกับภาคประชาชน ปีนี้ไม่มีงบประมาณ ทำให้การดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคประชาชนติดขัดไม่ลื่นไหล ควรจัดสรรงบประมาณให้สามารถทำงานได้


คลินิก  ปอขวัญ นาคะผิว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 13:40น.

ควรมีมาตรฐานราคากลางในการส่งต่อ เพื่อให้คลินิกเดี่ยวอยู่ได้

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

"ราคากลาง"รวมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาคนไข้เมื่อมีการส่งต่อ ควรมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่แม่ข่ายมีลูกข่ายเยอะค่าส่งตัวถูก ทำให้คลินิกเล็กๆ ต้องล้มหายตายจาก เพราะสู้ค่าใช้จ่ายไม่ได้


คลินิก  ปอขวัญ นาคะผิว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 13:30น.

งบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

งบประมาณแต่ละกองทุน น่าจะครอบคลุมทั้งรายการของโรคนั้นๆๆ ที่เข้าใช้บริการ เช่นกองทุนโรคมะเร็ง กองทุนโรคไต ไม่ต้องส่งกลับมาที่คลินิกเพื่อลดขั้นตอนของการรับบริการ และโดยเฉพาะคนไข้เองก็ไม่ต้่องเดินทางไปมาระหว่างคลินิกและโรงพยาบาล


คลินิก  จิตตินันท์ โทร.02-216-1410-11  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 11:27น.

เขตกรุงเทพมหานคร ต้องมีความพิเศษ เพราะกรุงเทพคือปัญหาของประเทศ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ที่ปัญหาสุขภาพทุกอย่างมารวมกัน มีประชากรย้ายถิ่นเข้ามามากที่สุดในประเทศ ดังนั้น ไม่ควรเอาระเบียบราชการ กฎต่างๆ มาเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย แนวปฏฺิบัติ โดยเฉพาะเงินงบประมาณ ทำให้เกิดปัญหาทับซ้อน ไม่ได้ช่วยให้หน่วยบริการ โดยเฉพาะคลินิกชุมชนอบอุ่นทำงานได้อย่างอิสระ สรุบคือ ต้องมีความยืดหยุ่นการใช้เงินงบประมาณ บริหารแบบ -เอกชน เน้นว่า คลินิกชุมชนอบอุ่น ไม่ใช่ NGO ไม่ใช่หน่วยงานราชการ..... ต้องเลือกผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กล้าทำสิ่งใหม่ๆ อย่ายึดติดกรอบระเบียบ จึงจะดึงจุดดีของหน่วยงานเอกชน ออกมาพัฒนางานบริการในกรุงเทพมหานคร... ได้มากที่สุด


คลินิก  รำไพ ศรีนวล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 10:47น.

หลักการบริการตามมาตรฐานสาธารณสุข

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

การมีมาตรฐานในให้การบริการสาธารณสุขที่เท่ากันทุกที่


คลินิก  นางสาวณัทฐ์พัชชา   เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 10:30น.

เรื่องยารักษาโรค

การบริหารจัดการกองทุน
 

น่าจะเพิ่มยารักษาโรค พื้นฐานขึ้นตามความเหมาะสม


คลินิก  อภิญญา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 10:08น.

การมีส่านร่วมของภาคประชาชน

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

การมีส่านร่วมของภาคประชาชน


คลินิก  นายเอกพจน์. พุดสุด  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 09:35น.

การแนะนำสิทธิประโยชน์และการส่งต่อตามสิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

กรณีผู้ป่วยไปใช้สิทธิฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งผู้ป่วยไม่ได้มีสิทธิการรักษา
ณ สถานพยาบาลแห่งนั้น เมื่อได้รับการรักษาและมีนัดติดตามอาการต่อเนื่อง จนท. แค่แจ้งว่าให้มารักษาตามสิทธิ ซึ่งส่วนใหญ่ จนท. ไม่เขียนใบสรุปการรักษาให้ผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียเวลา ในการกลับไปขอใบสรุปการรักษา


คลินิก  อุราวัลย์ แดงค้ำคุณ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:57น.

การเปิดบริการ วันเสาร์-อาทิตย์

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้เปิดบริการ วันเสาร์-อาทิตย์ 08.00-18.00 น.


คลินิก  ดานุวงค์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:57น.

อยากให้เปิดทุกวันทุกวันถึง 2ทุ่ม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เนื่องจากผู้ที่พาคนไข้มารับบริการ เป็นวัยทำงาน จึงควรรเปิดให้บริการช่วง 18.00-20.00น


คลินิก  วัชรพล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:54น.

เวลาเปิดทำการ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ควรจะมีการเปิดบริการเสาร์ อาทิตย์เปิดทั้งวันเนื่องจากผู้ป่วยมาใช้บริการไม่ทัน


คลินิก  นงเยาว์ สาแก้ว  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:53น.

อยากให้เปิดบริการ วันเสาร์ - อาทิตย์ 8.00-18.00 น.

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เปิดบริการเสาร์อาทิตย์ 8.00-18.00 น.


คลินิก  วัชรพล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:51น.

เรื่องยา

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เรื่องยา บางตัวถึง เอาออกจากบัตรทอง เช่น bromhexine, norgesic เป้นต้น


คลินิก  วัชรพล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:48น.

การเปิดให้บริการ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้คลินิกเปิดบริการถึงสองทุ่มจันทร์ถึงเสาร์คะ


คลินิก  วัชรพล  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:45น.

ผู้รับบริการขาดความรู้จอบเขตการใข้สิทธิ์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เพิ่มสื่อโฆษณาให้ผู้รับบริการรู้มากขึ้น


คลินิก  นัทธยา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:44น.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้รับบริการบางส่วนยังไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิ์ เช่นในกรณีที่ต้องส่งต่อระบบของบัตรทอง


คลินิก  ศรินรัตน์  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:30น.

ไม่มีพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ไม่มีพื้นที่ที่ชัดเจนในการทำงานออกเยี่ยมบ้านต่างๆ อยากให้แบ่งให้ชัดเจน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทำงานลำบาก กลัวจะมีปัญหากับหน่วยงานอื่นๆ


คลินิก  นางสางสาวอรพรรณ จันทร์เทศ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:30น.

การบริหารงบที่จัดให้กับประชาชน

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

เรื่อง30บาทรักษาทุกโรค ส่วนใหญ่ผู้รับบริการไม่เห็นความสำคัญเพราะคิดว่าไม่ได้ออกเงิน คือไม่ได้เห็นความสำคัญเลย เหมือนสมัยก่อน500บาทต่อคนที่เก็บจากประชาชนน่าจะดีกว่า. หรือทุกครั้งที่มารับบริการควรเก็บ30บาทเพราะเข่จะได้เห็นความสำคัญของเงินบ้างที่รัฐบาลออกให้เขา


คลินิก  รักษิกมนต์ คงมา  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:11น.

การรับรู้สิทธิของประชาชน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานทั่วไป และรู้ขอบเขตของสิทธินั้นๆ


คลินิก  CC  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 08:08น.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ตรวจสอบสิทธิให้แน่ใจก่อนเข้ารับการรักษา


คลินิก  น. ส สิราวรรณ สว่างภพ  เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2560 06:30น.

สิทธิมีอะไรบ้าง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรทำเป็นข้อๆ และเข้าใจง่าย
แจกให้แต่ละคลินิกไปติดที่บอร์ด
และทำแผ่นโบร์ชัวร์ไว้แจก


คลินิก  ธีรศักดิ์ สกลหล้า  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 23:33น.

สิทธิพรบ.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้รับบริการยังไม่รู้ว่าสิทธิบัตรทองใช้ในกรณีใดบ้าง
เช่นกรณีอุบัติเหตุจากรถ ซึ่งต้องใช้สิทธิพรบ.ก่อน
น่าจะมีช่องทางที่จะทำให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง
เช่น โฆษณาทางทีวี


คลินิก  ธนมณฑน์ มะไลย์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 22:24น.

คนใข้เรื้อรังย้ายสิทธิ์ บัตรทอง ไม่นำประวัติการรักษามาด้วย

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

คนไข้เรื้อรังย้ายสิทธิ์ มาใช้บัตรทอง แล้วไม่เข้าใจ ระบบบัตรทอง คนไข้ โวยวาย ต้องการใบส่งตัวไป โรงพยาบาล ที่เคยรักษา ไม่นำหลักฐาน เอกสารการป่วย หรือยามา ที่คลินิกบัตรทอง โวยวาย ว่าเจ้าหน้าที่ไม่เปิดดูประวัติในคอม ซึ่งประวัติแต่ละที่มันไม่สามารถ ดูข้าม รพ ได้


คลินิก  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 22:02น.

อยากให้เพิ่มคลินิกใกล้ชุมชนเพิ่มมากขึ้น

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

มีการจัดสรรเพิ่มแผนไทยใกล้ชุมชน


คลินิก  นุชรา ตอเสนา  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:54น.

ใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้มีใบประกอบวิชาชีพนักวิชาการสาธารสุข เพื่อความเท่าเทียมตามมาตรฐานการบริการสาธารสุข


คลินิก  ธมิตรชัย   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:51น.

สิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

บอกสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยที่ควรจะได้รับอย่างละเอียด


คลินิก  หมูน้อย  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:46น.

เก็บเงิน

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

น่าจะมีการเก็บเงิน 30บาททุกครั้งที่มารับบริการนะคะ


คลินิก  ดวง  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:41น.

ช่องทางในการรับรู้และคุ้มครองสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิบัตรทองให้มากขึ้น เนื่องจากประชาชนบางส่วน มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้สิทธิ และมีความต้องการใช้สิทธิเกินกว่าขอบเขตที่กำหนดไว้


คลินิก  นส. น.  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:39น.

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิของผู้มารับบิรการ

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

อยากให้สปสช.แจ้งสิทธิ์กับผู้มารับบริการ หรือประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพ ว่ากรณีไหนใช้สิทธิได้ หรือไม่ได้ อย่างละเอียดและชัดเจน


คลินิก  ลาวัลย์ คลินิกหน้านิคม  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:39น.

เอกสาร

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

งานเอกสารมากเกินไปทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกับคนไข้ได้เต็มที่เพราะมัวแต่นั่งเขียนงานมากเกินไป


คลินิก  ????  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:04น.

สิทธิประโยชน์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เพิ่มช่องทางการรับรู้สิทธิ์ให้เพิ่มมากขึ้น สิทธิ์ประโยชน์ต่างๆที่ควรจะได้รับ


คลินิก  ลลิตา  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 21:03น.

ปัญหาสิทธิ์บัตรทองรายใหม่

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ขาดความเข้าใจในการรับบริการตามสิทธิ์
เดินทางไกลมาผิดคลินิกบ้าง ไม่ครอบคลุมกับความต้องการเวลาเจ็บป่วยคลินิกอยู่ไกลมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ คลินิกที่อยู่ใกล้บ้านย้ายสิทธิ์ไม่ว่าง


คลินิก  บุษบา  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:59น.

ควรให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิออกเสียงบ้าง ถึงจะทำงานบริการแตาถ้าเจอมากๆก็ไม่ไหว

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ให้มีการฟังกันทั้ง 2 ฝ่าย


คลินิก  นฤมล บุตรโรบล  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:48น.

การบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

บริการอบอุ่นเหมีอนครอบครัวเดียวกัน


คลินิก  นางสาวเสาวลักษณ์ วาดกลาง  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:43น.

ประชาชนควรจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสิทธิมากขึ้น

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

-ประชาชนไม่ทราบกรณีฉุกเฉิน
-ประชาชนไม่ทราบกรณีอุบัติเหตรถจักรยานยนต์
-ประชาชนไม่ทราบกรณีคดีความ


คลินิก  นางสาวรุ่งทิวา ศรีวอคำ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:23น.

ผู้ป่วยไม่รู้สิทธการรักษาของตนเอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการรณรงค์อธิบายสิทธิให้ผู้ป่วยได้รับรู้สิทธิ


คลินิก  นวลจันทร์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:16น.

ผู้ป่วยไม่รับรู้ เกี่ยวกับสิทธิ์การรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการบอกหรือ อธิบายสิทธิ์การรักษามากขึ้น


คลินิก  วิไลพร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:16น.

เรื่องการรับรูสิทธิของตัวเอง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ส่วนใหญ่ประชาชนจะไม่รู้สิทธิของตัวเอง


คลินิก  น.ส.พัชรี  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:15น.

ความครอบคลุมของบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้สิทธิ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมถึงอุบัติเหตุด้วย


คลินิก  นางสาวพัชรากร   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 20:14น.

การตรวจหน่วยบริการ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ควรมีการตรวจหน่วยบริการภาครัฐแบบเดียวกับเอกชน


คลินิก  หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย รพ.นวมินทร์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:59น.

ผู้รับบริการยังไม่ทราบถึงสิทธิ์ประโยชน์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงสิทธิ์ประโยชน์ของประชาชนอย่างชัดเจนและครอบคุม


คลินิก  พิราวรรณ   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:54น.

การเปิดให้บริการ

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

อยากให้เปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์เต็มวันค่ะ เพื่อให้คนไข้มารับบริการได้ทุกวันค่ะ


คลินิก  Apinya  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:40น.

การแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

มีปัญหาเรื่อง พื้นที่ ทับซ้อนกัน การให้บริการที่ไม่สามารถคีย์เข้าระบบในการดูแลสุขภาพ เพราะไม่ใช่พื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบต้องส่งเคสให้กับเจ้าของพื้นที่ ทำให้การดูแลสุขภาพไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ครอบคลุมได้ทั้งหมด


คลินิก  ภัทราภรณ์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:19น.

จัดอบรม

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง


คลินิก  นายธีรวิทย์ ถีระพันธ์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:06น.

จำนวนประชากรที่มีเป็นจำนวนมาก และหลากหลายอาชีพ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

บางกลุ่มอาชีพไม่รู้เรื่องสิทธิ์ และระบบการรักษาที่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนอะไรบ้าง จึงอยากให้มีการประชาสัมพัน ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นเข้าถึงทุกกลุ่มอสชีพโดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่เรสเรียกว่าหาเช้ากินคำ เช่น กรรมกร แม่ค้า


คลินิก  กาญจนา   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 19:05น.

เวลา

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ขอให้เวลาทำการเพิ่มขึ้น


คลินิก  Jong  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:58น.

เปิดบริการเสาร์อาทิตย์ถึง18.00น

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

เดิมคลินิก เสาร์อาทิตย์ เปิด8.00-12.00
เสนอให้เพิ่มเวลาทำการเป็น8.00-18.00
เนื่องด้วยในพื้นที่มีผู้ป่วยมาใช้บริการเสาร์อาทิตย์เป็นจำนวนมาก


คลินิก  คลินิก ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:57น.

การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานกับผู้ให้บริการ

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

เนื่องจากบางกรณีมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขแต่เกิดความล่าช้าเนื้องจากมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก


คลินิก  กฎชพร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:52น.

ช่องทางการรับรู้สิทธิประโยชน์และคุ้มครองสิทธิ์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ช่องทางการรับรู้สิทธิ์ ที่เพิ่มมากขึ้น สิทธิ์ประโยชน์และความคุ้มครองที่ทุกคนเข้าใจ


คลินิก  เครือวัลย์ มุกดา  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:41น.

การออกเยี่ยมบ้าน

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

การออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยรายที่มีปัญหาเป็นการช่วยค้นหาปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหาผู้ป่วยได้ในส่วนนึง ซึ่งบางส่วนที่ผลการรักษาไม่ดี ควบคุมโรคไม่ได้เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง มีความรู้แต่ไม่ปฏิบัติไม่ปรับเปลี่ยน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีหากจะมีเภสัชกรออกเยี่ยมบ้าน แต่เนื่องจากในคลินิกมีเภสัชกรประจำอยู่เพียง 1 คน จะให้ออกติดตามผู้ป่วยที่มีปัญหาอยู่มากมายนั้นเป็นไปได้ยาก หากในคลินิกมีเภสัชกรปฏิบัติงานประจำอยู่ 2 คน เรื่องการออกเยี่ยมบ้านคงจะจัดสรรได้ง่ายมากขึ้น


คลินิก  อัญมณี  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:31น.

สื่อสารสิทธิการใช้บริการถึงประชาชนอย่างชัดเจน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้รับบริการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของสิทธิการรักษาตนเอง และยังไม่ทราบระบบต่างๆชัดเจน อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ตามสื่อๆต่างๆที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โดยให้ข้อมูลถึงสิทธิที่ครอบคลุม และ หน้าที่ในการปฏิบัติตนเมื่อมาเข้ารับการรักษาให้ความรู้ที่เข้าถึงประชาชนทุกคน เป็นข้อเท็จจริง ไม่ควรอธิบายกว้างๆ ให้ประชาชนคิดเอง แล้วมีความไม่เข้าใจที่ไม่ตรงกันกับผู้ให้บริการ ข้อมูลที่สื่อสารควรที่จะเข้าใจง่าย เพื่อประชาชนผู้ใช้บริการจะได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนที่จะไปใช้บริการต่างๆ


คลินิก  SARITA  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:23น.

ยานอกบัญชีกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการทำคู่มือ หรือ สื่อต่างๆ เช่น สื่อโฆษณา สื่อทางออนไลน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเกี่ยวกับยานอกบัญชีที่สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่คุ้มครอง เพื่อให้ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้รับรู้ ได้เข้าใจ และลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาทุกประเภทที่ผู้ป่วยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่าต้องได้รับทุกประเภทโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น อยากให้มีช่องทางกลางเพื่อเป็นตัวสื่อสารตรงกันระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการว่าต้องมีการดำเนินการอย่างไร เพื่อลดข้อคำถามและข้อร้อเรียนจากการให้บริการได้


คลินิก  สมพล ศรีชัย  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:17น.

อยากให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สิทธิการดูแลของผู้ป่วยให้มากขึ้น

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สิทธิการดูแลของผู้ป่วยให้มากขึ้นเพราะผู้ป่วยไม่รู้สิทธิการรักษา หรือขอบเขตกสรให้บริการ


คลินิก  พรรณมาศ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:14น.

สิทธิ์การรักษาพยาบาล

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้ป่วยบางคนไม่รู้สิทธิการรักษาตัวเองที่ชัดเจน เช่น กรณีรถจักรยานยนต์ล้มหรือว่าโดนรถชนจะมาขอใช้สิทธิ 30 บาทในการรักษาพอเจ้าหน้าที่ชี้แจ้งถึงเหตุผลที่ใช้ไม่ได้ กลับไม่เข้าใจ แล้วแสดงพฤติกรรมที่ดูเหมือนว่าไม่พอใจออกมา อยากให้ สปสช มีมาตรการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจในส่วนนี้มากขึ้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกันด้วยค่ะ


คลินิก  น้ำฝน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:10น.

สิทธ์การรักษาพยาบาล

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรอธิบายเรื่องสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองของสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่ประชาชนทราบอย่างละเอียดครบถ้วนถูกต้องชัดเจน เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุ ควรใช้ พรบ.ให้หมดก่อนถึงจะใช้สิทธิ์30บ.ได้ เพราะถ้าทางคลินิกแนะนำให้ใช้พรบ.คนไข้จะแสดงพฤติกรรมและคำพูดที่ไม่พอใจกับเจ้าหน้าที่


คลินิก  Name  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:09น.

ชอบอ้างว่าเป็นสิทธิของผู้ป่วยแตะไม่รู้เลยว่าสิทธินั้นครอบคุมอย่างไรบ้าง

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการกระจายข่าวสารมากกว่านี้เนื่องจากผู้มารับบริการไม่ทราบข้อมูลและสิทธิที่ตนจะได้รับอย่างละเอียดแล้วมีแต่มาอ้างว่ามันเป็นสิทธิของตน


คลินิก  นางสาวพรนภา บุตรใส  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 18:02น.

การรณรงค์งาน RDU Clinic

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

การให้ความร่วมมือในงาน RDU Clinic ผู้รับบริการไม่เข้าใจว่า ไม่มีเหตุผลในการใช้ยา แต่คิดว่า คลินิกต้องการประหยัดจึงไม่จ่ายยาที่ผู้รับบริการพึงได้ เพราะเมื่อไปรับบริการที่อื่นก็ยังมีการจ่ายให้อยู่ ทำให้ถูกผู้รับบริการตำหนิอยู่เสมอๆ อยากให้ภาครัฐให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น เพราะลำพังคลินิกอธิบายก็เหมือนการแก้ตัวที่ไม่จ่ายยาให้


คลินิก  T.N.Wong  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:49น.

อยากให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อจัดให้ผู้ให้บริการ

การบริหารจัดการกองทุน
 

อยากให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อจัดให้ผู้ให้บริการ


คลินิก  น้ำอบ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:36น.

อยากให้คุ้มครองสิทธิของผู้ให้บริการบ้าง เวลามีการร้องเรียนอยากให้รับฟังและมองในมุมของผู้ให้บริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้คุ้มครองสิทธิผู้ให้บริการบ้าง


คลินิก  Bubble   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:36น.

ปัญหาด้านสุขภาพ

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

การให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพเพื่อให้เข้าถึงการรักษา


คลินิก  สราวุธ ยินดีทรัพย์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:36น.

กฏระเบียบคุ้มครองพนักงานในสถานพยาบาล

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆ เช่นผู้ป่วยมีการร้องเรียนเรื่องผิดๆ ควรที่จะให้พนักงานได้อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ไม่ใช่คุ้มครองแต่ผู้ป่วยฝ่ายเดียว


คลินิก  Lo  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:30น.

กิจกรรม,การสื่อสารสุขภาพ ความรู้ด้านสิทธิประโยช์

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

เพิ่มการใช้สื่อหรือกิจกรรมต่างๆเพื่อสื่อสารแก่ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อเป็นการเน้นป้องกันหรือลดความรุนแรงโรค และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยเฉพาะในโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงสื่อสารความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิแก่ประชาชน


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:27น.

เรื่องค่าตอบเเทนการรับบริการแพทย์แผนไทย

การบริหารจัดการกองทุน
 

ค่าตอบแทนการให้บริการแพทย์แผนไทยน้อยเกินไปอยากให้เพิ่มค่าตอบแทนมากขึ้นค่ะ


คลินิก  bum  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:27น.

ปัญหาการทำงานนอกพื้นที่

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

บางชุมชนเวลาออกให้บริการนอกพื้นไม่ค่อยใหความร่วมมือเท่าที่ควรไม่ค่อยสนใจและใส่ใจสุขภาพ ทำให้เข้าถึงยาก แล้วบางทีไม่สามารถเข้าถึงได้เลย


คลินิก  เจนณรงค์. รุ่งเรือง  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:26น.

ค่าตอบแทนการให้บริการทางการแพทย์แผนไทยต่อรายการไม่เหมาะสมเท่าที่ควร

การบริหารจัดการกองทุน
 

เพิ่มค่าตอบแทนบริการ


คลินิก  Chu  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 17:06น.

ประชาชนรับรู้สิทธิ์และขอบเขตของการรักษาพยาบาล

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

สปสช.ทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องของสิทธิ์การรักษาพยาบาล และขอบเขตของการรักษาที่บริการบัตรทองสามารถให้บริการได้และไม่สามารถให้บริการได้ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศที่ถือสิทธิ์การรักษานี้ได้เข้าใจตรงกัน มาใช้บริการด้วยความเข้าใจ ไม่เกิดปัญหาในการบริการและข้อร้องเรียน


คลินิก  จันทร์จิรา  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:39น.

การรับรู้และการใช้สิทธิ์

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้มีการแนะนำสิทธิ์ที่ละเอียด เนื่องจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธ ์การรักษา


คลินิก  รวินท์นิภา เหขุนทด  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:38น.

เปิดให้บริการ เสาร์-อาทิตย์ เต็มวัน ในเขตกรุงเทพฯ

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เปิดให้บริการ เสาร์-อาทิตย์ เต็มวัน ในเขตกรุงเทพ


คลินิก  ณรงค์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:33น.

การเปิดบริการในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เต็มวัน

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

การเปิดให้บริการวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เต็มวัน


คลินิก  สุริยาภรณ์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:32น.

หน่วยบริการ ทีมภาคประชาชนมีความรู้ รณรงค์การออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพตนเองไม่ใช้ยา เกินความจำเป็น

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

หน่วยบริการ ทีมภาคประชาชนมีความรู้ รณรงค์การออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพตนเองไม่ใช้ยา เกินความจำเป็น


คลินิก  วัชรี อ้นพรม  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:31น.

การเปิดบริการในวัน เสาร์ - อาทิตย์เปิดให้บริการเต็มวัน

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

การเปิดบริการเสาร์ - อาทิตย์ เต็มวัน


คลินิก  จิราภรณ์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:30น.

งานเยี่ยมบ้าน HHCและHV

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

เสนอให้คลินิกชุมชนอบอุ่นสามารถให้บริการHHCและHVผู้รับบริการสิทธิตนเองได้ เพื่อให้ผู้รับบริการต่อเนื่องจริงๆโดยเชื่อมโยงกับงานPPในและแผนการรักษาของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของคลินิก โดยเฉพาะHVซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของคลินิกชุมชนอบอุ่นที่สามารถทำได้และเหมาะสมกับศักยภาพ (HHCเป็นงานที่ยากและต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางและหลากหลายสาขาในการจะแก้ไขปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งมีความซับซ้อนหลายมิติ ต้องอาศัยผู้มีความรู้ ประสบการณ์และจิตใจรักบริการอย่างยิ่ง ซึ่งควรผ่านการพัฒนาและฝึกฝนมาเฉพาะด้านจริงๆถึงให้บริการHHC)
ทั้งนี้สปสชกทมได้ กำหนดให้คลินิกชุมชนอบอุ่นให้บริการเยี่ยมบ้านและบริการเชิงรุกในชุมชนไม่น้อยกว่า12ชั่วโมงต่อสัปดาห์แต่คลินิกไม่สามารถเบิกค่าชดเชยได้


คลินิก  ทรงกรกฎ ศฤงคาร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:29น.

การเรียกเก็บค่าบริการนอกเวลาทำการของหน่วยบริการ

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ผู้รับบริการส่วนใหญ่เข้าใจว่าการรักษาไม่ว่าจะมาเวลาไหน ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉินก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย


คลินิก  ภาวิดา มีมุ้ย  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:29น.

เปิดคลินิกถึง2ทุ่ม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อย่กให่เปิดคลินิกเปิดให้บริการถึง2ทุ่มทุกวัน


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:26น.

กรณีผู้มาใช้บริการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ในคลินิก

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

ผู้ให้บริการน่าจะมีสิทธิ์โทรเข้าไปร้องเรียนกับ สปสช.บ้างค่ะ


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:24น.

เสนอเรื่องเวลาทำการเปิดคลินิก

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้เปิดทำการจาก 08.00-18.00 ทุกวัน เนื่องจากเดิมเสาร์,อาทิตย์เปิดทำการ 08.00-11.00 น. เวลาน้อยเกินไป ดูแลรักษาคนไข้ไม่ทัน จึงอยากเสนอเรื่องเวลาเปิดคลินิกระยะเวลามากขึ้นกว่าเดิม


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:24น.

เปิดคลินนิกถึง2ทุ่มค่ะ

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

เปิดคลินิก 2ทุ่มทุกวันค่ะ


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:22น.

ความเข้าใจในสิทธิการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาผ่านทางสื่อให้มากกว่าเดิม เช่น โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ นำเสนอเกี่ยวกับขอบเขตการใช้สิทธิให้ประชาชนได้รับทราบแบบตรงไปตรงมา ต่อเนื่องและชัดเจน


คลินิก  กานดา บุญทัน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:21น.

การประสานงานติดต่อสื่อสารค่อนข้างลำบาก เนื่องจากมีผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

จากการที่ สปสช ได้มีการพัฒนา ให้มีการสื่อสารทาง TeamViewer ซึ่งสามารถช่วยในการประสานงานด้าน ไอที ได้ค่อนข้างมาก แต่พบว่าการติดต่อประสานงานเรื่องอื่นๆ ต้องใช้เวลาติดต่อเป็นเวลานาน เพราะมักติดปัญหาผู้รับผิดชอบไม่อยู่ ไม่มีใครสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นได้
เบอร์ที่แจ้งไว้ โทรไปก้อไม่มีใครรับ บางครั้งต้องใช้เวลาในการติดต่อ 2-3 อาทิตย์ ควรมีช่องทางในการรับเรื่องแล้วประสานงานกลับทางคลินิกนะค่ะ


คลินิก  พัชรธร พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรมสาขาแกรนด์ออคิด 02-9191575  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:20น.

รายชื่อ UC

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

อยากให้ สปสช. มีอำนาจในการกำหนดตัวชี้วัด QOF เอง ให้ตรงกับ บริบทของ กทม. ซึ่งแตกต่างจาก ตจว. โดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ สิทธิหน่วยบริการประจำของประชากร แล้ว


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน (123/12669-70 ถ.นวมินทร์ ซ.นวมินทร์98 รามอินทรา คันนายาว กทม 10230)  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:18น.

การรู้สิทธิบัตรทองของผู้รับบริการ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้สปสช.ประชาสัมพันธ์และแจ้งสิทธิ์กับผู้รับบริการอย่างตรงไปตรงมา กรณีไหนใช้สิทธิ์ได้ กรณีไหนใช้บัตรทองไม่ได้ โดยผ่านสื่อทุกชนิดโดยเฉพาะทางโทรทัศน์เพื่อให้ประชาชนทราบสิทธิ์ของตนเอง บางครั้งทำให้ผู้ใช้สิทธิเหมารวมว่าใช้ได้ทุกกรณี ทำให้ไม่พอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไม่อยากให้กระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ อต่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบของขอบเขตบัตรประกันสุขภาพ ทำให้เกิดกรณีร้องเรียนไม่พอใจ เพราะเข้าใจว่าใช้ได้ทุกกรณี เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ในทีวีพูดถึงบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ไม่เคยทำให้ประชาชนทราบอย่างลึกซึ้งเลยว่า มีขอบเขตการให้บริการอย่างไร


คลินิก  ผกาณี ฤกษ์จำนง  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:17น.

เปิด เสาร์ อาทิตย์ ถึงสองทุ่ม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

เปิดถึงสองทุ่มทุกวัน อ-จ


คลินิก  ม.มหานคร  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:16น.

ประชาชนที่ใช้สิทธิ์บัตรทองยังไม่ทราบถึงพรบ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีลงประกาศติดบอดร์หรือเพิ่มในคู่มือตอนสมัครบางท่านไม่ทราบขอบเขตของกฏหมายว่าด้วยการใช้รถยนต์และมอเตอร์ไชค์


คลินิก  เกื้อกูล  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:14น.

กรณีอุบัติเหตุทางถนน ผู้ป่วยต้องการใช้สิทธิ30ในการรักษา

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ผู้ป่วยบางคนไม่รู้สิทธิการรักษาตัวเองที่ชัดเจน เช่น MCA ล้มมาจะมาขอใช้สิทธิ 30 บาทในการรักษาพอเจ้าหน้าที่ชี้แจ้งถึงเหตุผลที่ใช้ไม่ได้ กลับไม่เข้าใจ แล้วแสดงพฤติกรรมที่ดูเหมือนว่าไม่พอใจออกมา อยากให้ สปสช มีมาตรการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจในส่วนนี้มากขึ้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกัน


คลินิก  ชาญวิทย์ ชาติแขม  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:14น.

เพิ่มการบริการสิทธิบัตรทอง

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้สปสชนำเสนอการบริการใช้สิทธิให้ประชาชนอย่างถูกต้องโดยผ่านสื่อช่องทางต่างๆเช่น โทรทัศน์อินเตอร์เน็ต วิทยุ


คลินิก  น.สสมฤดี ตะโสรัตน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:12น.

การรับรู้สิทธิ์ของตน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เนื่องจากชุมชนเขต ชนบทและ พื้นที่ห่างไกล ยังมีการรับรู้สิทธิ์ของตน มากนัก เสื่องจากยังยึดยฝติดกับคำว่า รพ ไกล้บ้าน ฉุกเฉินก็ต้องมาไกล้บ้านก่อน แต่ความจริงคำว่า รพ ไกล้บ้านอาจเป็นเพียงหน่วยปฐมภูมิ ที่มีเวลาทำการปิดเปิด เช่นคลินิกชุมชนอบอุ่นทั่วไป เพราะเคยเจอกรณีคนไข้ ไม่สบายแต่ไม่ยอมไป รพ ใหญ่ เพราะคิดว่าจะต้องผ่านการส่งตัวจากหน่วยปฐมภูมิก่อน จึงได้สอบถามแล้วพบว่า ประชาชนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ สิทธิ์ที่ผิดอยู่ โดยเฉพาะชนบท หรือพื้นที่ห่างไกล ค่ะ จึงอยากไห้มี การไห้ความรู้สู่ประชาชนให้มากขึ้นค่ะ


คลินิก  น้ำฟ้า 18/6 ม.7 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม 10150 (ชุดเครื่องเขียนลดโลกร้อน)   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:12น.

การใช้สิทธิ์บัตรทอง

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

อยากให้แจ้งสิทธิและขอบเขตการใช้สิทธิ์บัตรทองให้กับผู้มารับบริการอย่างครอบคลุม


คลินิก  เกศริน. นิลนามะ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:11น.

การจัดสรรงบประมาณ

การบริหารจัดการกองทุน
 

ควรมีการจัดสรรงบประมาณในกรอบเวลาที่แน่นอนในแต่ละปี เผื่อให้ทางผู้ประกอบกิจการสามารถวางแผนในการดำเนินการได้เหมาะสม


คลินิก  พัชรธร พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรมสาขาแกรนด์ออคิด 02-9191575  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:10น.

การรับรู้สิทธิผู้ป่วย

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ให้ สปสช ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ป่วยทราบ ผ่านสื่อ


คลินิก  วาสินี คนโต  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:10น.

จัดบริการให้ครอบคลุม

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

ควรให้บริการที่ครอบคลุมทุกด้าน


คลินิก  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:04น.

การแจ้งสิทธิ์รักษาที่ชัดเจน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในเรื่องของการใช้สิทธิ์ของตนเอง มักสงสัยในการใช้สิทธิ์ หากมีกรณีฉุกเฉิน ว่าจะสามารถเข้าใช้สิทธิ์ของตนเองได้เรยหรือไม่ หรือจำเป็นต้องรอ การส่งต่อจากรพ ปฐมภูมิ ก่อน จึงอยากไห้มีการประชุมให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อการเข้าถึงการใช้สิทธิ์ที่มากขึ้น ในส่วนของชุมชน ชนบท และพื้นที่ห่างไกลเมือง


คลินิก  น้ำฟ้า   เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 16:02น.

แพทย์

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานการรักษาของแพทย์ ให้มีมาตรฐาน มีการออดิทแพทย์


คลินิก  ------  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 15:59น.

ผู้รับบริการมานอกเวลา และไม่ฉุกเฉิน

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ควรมีเกณฑ์ที่ชัดเจน


คลินิก  หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย รพ.นวมินทร์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 15:48น.

การดำเนินงานและการประสานงานระหว่างสำนักงานและหน่วยงาน

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

อยากให้ช่วยพิจารณาเรื่องการประสานงานระหว่างสำนักงานกับสถานพยาบาล ควรมีการส่งต่อในกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่อยู่ และความชัดเจนในหัวข้อที่สอบถามค่ะ บางทีคำตอบที่ได้ไม่เหมือนกันหรือไม่ชัดเจนทำให้การทำงานผิดพลาดค่ะ


คลินิก  นางสาวณัฏฐศิริ ก๋าแก้ว  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 11:46น.

การจัดการศึกษา อบรม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

ต้องการให้ สปสช เผยแพร่แหล่งศึกษาเรียนรู้ของบุคลากรด้านต่างๆให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่ควรมีในคลินิคชุมชนอบอุ่น
เช่น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว อบรมหลักสูตรใดที่ไหนบ้าง,นักจิตวิทยา เป็นต้น ซึ่งทางคลินิคที่ต้องการพัฒนาบุคคลากรของตนเองได้มีโอกาสพัฒนาบุคลากรให้ได้ตามมาตรฐานตรงตามความต้องการ


คลินิก  สุณีย์ พยาบาล รพ.ผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 11:03น.

เขตพื้นที่รับผิดชอบ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

อยากให้มีการจัดสรรเขตพื้นที่รับผิดชอบในการดูแลหรือการจัดกิจกรรมเชิงรุกเหมือนศูนย์บริการสาธารณสุขอย่างชัดเจน มีเขตพื้นที่รับผิดชอบของคลินิกเองที่ไม่เกิดการทับซ้อนกันในเรื่องของพื้นที่รับผิดชอบ อย่างที่เป็นปัญหาอยู่ ณ ปัจจุบัน


คลินิก  Witsanu (18/6 ม.7 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม 10150) (ผ้าขนหนู)  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 11:00น.

อยากให้ประชาชนได้รู้เข้าใจสิทธิของตนเอง

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
 

ควรมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อ หรือลงชุมชน เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิการรักษาของตนได้อย่างชัดเจน เพราะทุกวันนี้ประชาชนไม่รู้แม้กระทั่งสิทธิตนเอง ขอให้คำนึงถึงข้อนี้เป็นหลัก


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:25น.

สิทธิและหน้าที่ของผู้รับบริการ

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

อยากให้ สปสช. ประชาสัมพันธ์ สิทธิ และ หน้าที่ ของผู้รับบริการ แบบตรงไปตรงมา
สิทธิของคนไข้มีแค่ไหน ขอให้ชัดเจน และหน้าที่ของคนไข้คืออไร ต้องชัดเจน

ไม่ใช่ประชาสัมพันธ์แต่สิทธิ แต่ไม่บอกหน้าที่ของผู้รับบริการ

ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันประจำ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งย้ายสิทธิมาใหม่

และจุดสำคัญของระบบนี้คือ เจ้าหน้าที่ สปสช. ในสำนักงานเขต ที่รับเปลี่ยนสิทธิ ต้องมีการชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจน โดยเฉพาะเคสที่เป้นโรคเรื้อรังหรือส่งต่อ ร.พ. เช่น ต้องเอาประวัติมาด้วย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันและกันได้


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:25น.

ขอให้พิจารณากองทุนเพิ่ม

การบริหารจัดการกองทุน
 

เนื่องจากมาตรฐานเพิ่มแต่เงินน้อยลง การทำงานมีค่าใช้จ่าย ดังนั้นหากงบไม่มี ผลงานจะมาจากไหน คลินิกไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ รพ ว่าอย่างไรคลินิกก็ต้องตาม แต่คลินิกถูกตัดเงินแบบไม่มีทางร้องขออะไรได้


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:22น.

กองทุน อปท.

กองทุนท้องถิ่น/กองทุนพื้นที่/ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ
 

ต่างจังหวัด จะมีกองทุน อปท. ซึ่ง รพสต/หน่วยบริการ จะประสานงานกับ อปท. เช่น อบต. อบจ. เทศบาล ในการจัดโครงการร่วมกันในชุมชน โดยเสนอแผนงานไปที่ สสจ. แล้ว ให้ สสจ. อนุมัติงบประมาณ ให้ดำเนินการตามกรอบที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้เสริมพลังในชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง กทม. ยังขาดส่วนนี้ไป


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:20น.

อยากให้มีกองทุนส่งเสริมในเรื่องฟื้นฟู ให้กับหน่วยงาน

กองทุนท้องถิ่น/กองทุนพื้นที่/ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ
 

เนื่องจากปัจจุบัน ทางรัฐบาลและ สปสช ต้องการให้หน่วยงานทุกหน่วยงานบริการคนให้ให้ทั่วถึงแต่ งบประมาณตัดน้อยลงเรื่อยๆ แต่ต้องการมาตรฐานที่ดี ขอให้ตระหนักถึงเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เพราะคลินิกเปิดมาต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจ้าง แต่งบกับถูกตัดออกไปเรื่อยๆ ขอให้ตระหนักในเรื่องเม็ดเงินด้วยว่า จะเอามาจากไหน


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:18น.

การจัดการแบบบูรณาการ

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

1. อยากให้ สปสช. บูรณาการระบบสารสนเทศ ให้เข้าสู่ นโยบาย Thailand 4.0 ควรมี การเรียกข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์ การประมวลผลข้อมูล ตามที่หน่วยบริการต้องการได้ ... ไม่ใช่แค่เอาไว้ส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายเท่านั้น รวมทั้ง ควรลดงานหน่วยบริการโดยการไม่ต้องคีย์หลายโปรแกรม แต่คีย์ที่เดียวและส่งไปได้หลายๆโปรแกรม

2. การประสานงานภายในสำนักงาน อยากให้ทุกคนที่สำนักงานฯสามารถประสานงานในเรืองที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ต้องให้หน่วยบริการโทรหาไปแต่ละคนเอง เว้นแต่ว่า หน่วยบริการจะโทรผิดงาน แต่ถ้าเป็นงานเดียวกันแล้ว ไม่ว่า จะเป็นหลักเกณฑ์กองทุน ไอที คนประมวลผล หรือคนประสานงาน ก็ควรประสานงานคุยกันได้ เพื่อเป็นการปรับปรุง/บูรณาการ งานของตนเองด้วย

3. อยากให้จัดประชุมร่วมระหว่าง คลินิก - ร.พ. - ศบส. บ้าง โดยเฉพาะในเวทีที่ต้องประสานงานร่วมกัน ไม่อยากให้จัด แต่ละส่วนคนละเวทีกัน เพื่อจะได้มีคำถามและถาม-ตอบกันโดยตรง เลย เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเป็นการประสานงานผ่านตัวกลางไปในตัว ซึ่งจะช่วยลดข้อชัดแย้งได้


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:18น.

การควบคุมการใช้ยา ให้เป็นไปตามหลักการใช้ยาสมเหตุผล (RDU)

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

1. สปสช.ควรกำหนดออกมาชัดเจนเป็นภาคบังคับ หากต้องมีการใช้ที่เกินจากหลักการฯ ต้องมีการทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร
2. จัดสือประชาสัมพันธ์เป็นระยะ ปัจจุบันจะหายไปแล้ว ไม่เห็นสื่อออก
3. จัดงบประมาณลงตามพื้นที่ หน่วยบริการสู่ชุมชน แล้วรายงานผลไปที่ส่วนกลาง
4. มีการจัดประกวดการทำกิจกรรม เพื่อรณรงค์ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นต้น


คลินิก  สุดารัตน์ ลี้สุวรรณ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:14น.

ประชาชนขาดความรู้

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

ให้ข้อมูลหลายๆด้าน เช่น สื่อออนไลน์ facebook line หรือ ข้อมูลที่เข้าถึงง่าย


คลินิก  อดิศร ทันที  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:14น.

อยากให้มีมาตรฐานที่ชัดเจน

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

อยากให้ชี้แจงมาตรฐาน ระบุระยะเวลาที่แน่ชัดว่า มาตราฐานนี้ ใช้จนถึงปีไหน แล้วก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมปรับไปตามสังคมปัจจุบัน ควรแจ้งและมีข้อตกงงสรุปที่ชัดเจนก่อนล่วงหน้า ว่าทุกฝ่ายสามารถทำได้


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:14น.

รายละเอียดกองทุน

การบริหารจัดการกองทุน
 

1. อยากให้แต่ละกองทุนมีความชัดเจนในการเคลม เช่น กองทุน HIV แต่ ร.พ. เจาะ AST,ALT แต่กองทุนให้เบิกได้แค่ ALT ทำให้ ร.พ. ต้องเบิก AST ที่คลินิก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดข้อขัดแย้งกัน โดยส่วนตัวเข้าใจหลักการว่าใช้ติดตาม ADR ของยา แต่ ทาง ร.พ. เมื่อแพทย์สั่งดูทั้ง 2 ตัว หรือมากกว่านั้น ก็ต้องหาที่เบิก ซึ่งอาจเป็น over-investigation หรือ ไม่ ก็ได้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ แต่ทั้งนี้ กองทุน ควรต้อง support ส่วนนี้ด้วย เป็นต้น

2. บางกองทุน เช่น กองทุนมะเร็ง ก็ไม่น่าจะครอบคลุมแค่ยา เคมีบำบัดหรือฉายรังสี ควรจะครอบคลุมเรื่อง Lab ด้วย เนื่องจากต้องมีการ monitor ตลอด


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:10น.

คลินิกยังน้อย ควรกระจายคลินิกในทุกเขตกทม

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

เนื่องจากคนไข้บัตรทองมีจำนวนมาก การเดินทางไกล คนไข้ไม่พอใจ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คนไข้จะพูดเสมอว่า ทำไมถึงไม่ให้อยู่คลินิกใกล้บ้าน


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:10น.

สิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

บางทีการที่ประชาชนรู้จักสิทธิ์ ก้ลืมดูแลใส่ใจตัวเอง เพราะมันฟรีหมด


คลินิก  พัชรวัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:04น.

อยากให้ทุกหน่วยงาน ได้ชี้แจงข้อปฏิบัติและสิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

อยากให้ทุกหน่วยงาน ได้แนะนำสิทธิและขอบเขต การปฏิบัติในการใช้สิทธิ เพื่อลดข้อร้องเรียน


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:04น.

การจัดอบรม

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

1. อยากให้ สปสช. จัดอบรม เจ้าหน้าที่ ของคลินิก ให้ครบทุกงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. อยากให้ สปสช. อนุญาตให้คลินิก ปิดสัก 2-3 วัน เพื่อจัดอบรมพัฒนาบุคลากรของคลินิก โดยอาจให้คลินิกส่งแผนการพัฒนาบุคลากร แล้วให้ สปสช. อนุมัติก็ได้


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:04น.

การจัดการระบบอย่างรัดกุมเมื่อประสบปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขอย่างทันที

การบริหารจัดการสำนักงาน
 

ทางคลินิกมักประสบปัญหากับการเข้าใช้งานระบบเป็นอย่างมาก และจะได้รับการดำเนินแก้ไข้ล่าช้า มักได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน ติดต่อประสานงานลำบาก


คลินิก  ิbordin  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:04น.

อยากให้ศูนย์เปิดทำการทุกวัน

ประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข
 

เพื่อช่วยลดปริมาณคนไข้ใน รพ ในวันทำการ


คลินิก  สุดารัตน์ ภู่พิพัฒน์  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:01น.

จัดอบรมหัวข้อจำเป็นที่เกี่ยวกับบริการสาธารณสุขในกับบุคลากร

มาตรฐานบริการสาธารณสุข
 

1. หน่วยงานสปสช. น่าจะมีแผนการจัดอบรมประจำปีให้กับบุคลากรที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ
2. จัดอบรมตามตัวชี้วัดที่จำเป็นต้องมี ต้องใช้ และตามมาตรฐานการให้บริการ โดยไม่ใช่การประชุม เน้นเป็นการอบรมให้ความรู้ ที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้หน่วยบริการดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
3. สามารถประเมินความรู้ที่ได้จากการอบรม โดยการประเมินผลงานประจำปี
4. จัดงบอบรมบางส่วนให้กับหน่วยบริการ โดยหน่วยบริการส่งแผนการจัดอบรม หรือโครงการเพื่อของบประมาณจากสปสช.ในพื้นที่รับผิดชอบ


คลินิก  สุดารัตน์ ลี้สุวรรณ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 10:01น.

พื้นที่รับผิดชอบ

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

1. อยากให้ทุกคลินิกมีพื้นที่รับผิดชอบของตัวเอง แบบ ร.พ.ส.ต.

2. นิยามคำว่า พื้นที่รับผิดชอบของคลินิกใหม่ เนื่องจาก ถ้าใช้นิยามเดียวกับ ตจว. จะทำให้ ผลงานน้อย กล่าวคือ ตจว. UCพื้นที่รับผิดชอบก็คือ UCของ รพช อยู่แล้ว แต่ ของ กทม. UCพื้นที่รับผิดชอบ ถ้าหมายถึง UCของคลินิกอย่างเดียว บางที UC คลินิกก็อยู่อีกฟากของ กทม. และเขาอาจไปรับบริการคลินิกละแวกนั้น ซึ่งจริงๆก็ควรเป็นผลงานของคลินิกที่เขาไปรับบริการ


คลินิก  ศุภวัฒน์ รักซ้อน  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 09:59น.

ประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองขาดความเข้าใจขั้นตอนการใช้สิทธิ

การรับรู้และคุ้มครองสิทธิ
 

1. จัดประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลายๆ ช่องทางมากยิ่ง ในขั้นตอนการใช้สิทธิ
2. จัดงบประมาณสำหรับหน่วยงานระดับชุมชนในการประชาสัมพันธ์
3. มีทีมประสานงานระดับชุมชนที่มีความเข้าใจขั้นตอนอย่างชัดเจน


คลินิก  สุดารัตน์ ลี้สุวรรณ  เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2560 09:53น.

การเงิน

ปัญหาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 

การเรียกเก็บโดยไม่มีขีดจำกัด


คลินิก  รัชฎาภรณ์  เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2560 21:24น.